Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
การตั้งผลลัพธ์การเรียนรู้และรายละเอียดกระบวนวิชา สามารถเข้าถึงได้จาก แถบเมนูด้านบน เลือก "Course Spec"
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเชื่อมโยง Course Learning Outcomes (CLOs) กับ Program Learning Outcomes (PLOs) ของรายวิชา โดยสามารถเพิ่ม CLO กรอกรายละเอียดและวิธีการสอน (Teaching Method)ได้ที่หน้าต่างนี้
Alignments of Assessments and CLOs เป็นส่วนของการออกแบบการประเมินผลและเชื่อมโยงกับ CLOs โดยเริ่มจากการเลือกหัวข้อกิจกรรมหรือหมวดหมู่ย่อยที่มาจาก Gradebook เลือกวิธีการประเมินผลและจับคู่กับ CLOs โดยคลิกที่ไอคอน 'บวก'
Assessment Weights จะเป็นการกำหนดสัดส่วนน้ำหนักคะแนนในแต่ละ CLO กับหัวข้อกิจกรรม โดยระบบมีให้เลือกกำหนดเอง ('Specify') หรือให้ระบบเกลี่ยน้ำหนักอัตโนมัติ ('Unspecified')
Grade Calculation เป็นวิธีการคิดเกรดโดยอิงจากวิธีการที่ใช้ในขั้นตอนการตัดเกรดของกระบวนวิชาดังกล่าว
เป็นส่วนของรายละเอียด Course Syllabus หรือแผนการสอน สามารถคัดลอกจากไฟล์ excel ภายนอกมาวางในระบบได้ทันที หรือกรอกรายละเอียดลงในระบบโดยตรงก็ได้เช่นกัน
ส่วนของการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมของกระบวนวิชาสำหรับให้นักศึกษาใช้อ้างอิงเพิ่มเติมสำหรับกระบวนวิชา
กรณีที่มี Recommendations ในระบบจากภาคการศึกษาก่อน ส่วนนี้จะมีข้อมูลปรากฏขึ้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรต่อไปในภาคการศึกษาต่อไป
ขั้นตอนสุดท้ายของการกรอกรายละเอียด Course Spec โดยจะเป็นการสรุปข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้านี้ทั้งหมด โดยกดที่ปุ่ม "Preview"เพื่อตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง และสามารถกด "Submit" เพื่อส่งข้อมูล Course Spec เข้าสู่ระบบ เมื่อ Submit แล้วสถานะของกระบวนวิชาที่ Course Spec จะถูกอัพเดตเป็น
เลือกเข้าใช้งาน Gradebook ของกระบวนวิชาที่ต้องการ
Template ของระบบจะมี 2 แบบหลัก คือตารางคะแนนแบบหัว 1 ชั้น (1-level table) และ ตารางคะแนนแบบหัว 2 ชั้น (2-level table)
กด Template[1] เพื่อเลือก Template ตารางคะแนนที่ต้องการ[2] กด Choose[3] เพื่อยืนยัน
แก้ไขในตารางคะแนนบนระบบได้โดยตรง โดยช่อง Total ที่ระบบมีให้ระบบจะคำนวนคะแนนให้โดยอัตโมัติ และไม่ต้องกรอกคะแนนที่ช่องดังกล่าว กรณีที่มีข้อมูลคะแนนช่องเดียว ให้สร้างเป็นช่องใหม่เพิ่มขึ้นมา
สำหรับ Template ตารางคะแนนแบบหัว 1 ชั้น (1-level table) ไม่ต้องทำการ Merge Cell ใดๆ
สำหรับ Template ตารางคะแนนแบบหัว 2 ชั้น (2-level table) ให้ทำการ Merge Cell แถวบนสุด และคะแนนในแถวที่ 2 จะคิดเป็น % และรวมกันทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 100 ส่วนแถวที่ 4 กรอกเป็นคะแนนดิบซึ่งสามารถกรอกเกิน 100 ได้
สามารถทำได้โดยการกด Export เพื่อให้ระบบสร้างไฟล์ excel ของตารางคะแนนออกมาเพื่อนำไปใช้ต่อภายนอกระบบ และยังสามารถนำกลับมา Import ข้อมูลคะแนนที่มีการเพิ่มเติมในตารางแล้วได้อีกด้วย
ล็อคอินเข้าใช้งานได้ที่
Browser ที่แนะนำสำหรับเข้าใช้งาน
Microsoft Edge ⭐
Google Chrome
Firefox
Safari
เข้าใช้งานด้วย CMU Account ของท่าน
ชื่อของท่าน
คณะที่ท่านสังกัด
รายการกระบวนวิชาที่ท่านดูแล โดยข้อมูลส่วนนี้ระบบจะอ้างอิงจากข้อมูลที่มาจากทางสำนักทะเบียนฯ ประกอบด้วย
Course ID = รหัสกระบวนวิชา
Course Title = ชื่อกระบวนวิชา
Section = ตอนเรียน
Instructor = ผู้รับผิดชอบตอนเรียน
Students = จำนวนผู้เรียน
Status หรือ สถานะการดำเนินการ โดยจะแสดงให้เห็นว่ามีการดำเนินการกรอกข้อมูลไปแล้วในส่วนใด ถึงขั้นตอนใดแล้วบ้าง
การตัดเกรดสามารถทำได้ทั้งแบบปรับค่าคะแนนด้วยตนเอง เลื่อนช่วงคะแนนขึ้นและลง รวมถึงการคำนวณเกณฑ์การตัดเกรดขึ้นมาใหม่โดยใช้ แบบอิงเกณฑ์, แบบอิงกลุ่ม, แบบ Normalized T-Score, แบบ Stuit's Method และแบบผ่านไม่ผ่าน
โดยระบบจะมี Tab แยกสำหรับนักศึกษาที่ถูกเลือก , นักศึกษาที่ไม่เลือก และนักศึกษาที่มีสถานะเป็น W เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
โดย default การตัดเกรดจะใช้วิธีอิงเกณฑ์ โดยตัด A ที่ 80 คะแนน, B+ ที่ 75 คะแนน และลดลงไปตามลำดับ อย่างไรก็ตามระบบให้สามารถปรับคะแนนช่วงเกรดในรูปแบบต่างๆได้ โดยสามารถปรับได้สองวิธี ดังนี้
1.กรอกค่าคะแนนด้วยตนเอง
2.เลื่อนบาร์ช่วงคะแนน
เลือก Tab "Norm referenced" และสามารถเลือกปรับแต่งเกรดและ SD ที่ต้องการได้จากหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น
เลือก Tab "Stuit's Method" และสามารถเลือกปรับแต่งเกรดและ SD , Median , LLF ที่ต้องการได้จากหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น
เลือก Tab "Pass-Fail" และสามารถเลือกปรับเกณฑ์คะแนนการผ่าน-ไม่ผ่านที่ต้องการได้จากหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น
เลือกรายชื่อนักศึกษาที่ต้องการส่งเกรดเข้าสู่สำนักทะเบียน โดยจะสามารถ Review รายชื่อและดูสรุปจำนวนพร้อมเกรดในขั้นสุดท้ายได้ที่เมนู Submit Grades
เมื่อต้องการส่งข้อมูลทั้งหมดให้เข้าไปที่เมนู Submit Grades และกดที่ปุ่ม "Send Grade" จึงจะเป็นการยืนยันการส่งเกรดเข้าสู่สำนักทะเบียน
ระบบตัดเกรดและระบบประเมินผลลัพธ์ OBE เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดเกรดออนไลน์ รวมถึงการประเมินผลการเรียนรู้ด้วย Outcome Based Learning สำหรับ 7 หลักสูตรนำร่อง ซึ่งเชื่อมเข้ากับระบบส่งเกรดออนไลน์ของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เดิมทีสำนักทะเบียนฯ มีระบบส่งเกรดออนไลน์อยู่แล้ว โดยอาจารย์จะต้องทำการตัดเกรดเองและส่งเกรดให้กับสำนักทะเบียน ที่ https://grade.reg.cmu.ac.th) แต่ยังไม่มีบริการตัดเกรดออนไลน์ TLIC จึงได้ต่อยอดบริการนี้โดยพัฒนาระบบตัดเกรดขึ้นเพิ่มเติม และเชื่อมเข้ากับระบบส่งเกรดของสำนักทะเบียน เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ในการจัดการคะแนนและตัดเกรดของนักศึกษา
ระบบตัดเกรด CMU OBE จึงเป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนอาจารย์ในการจัดการคะแนนของนักศึกษาจำนวนมาก และนำมาตัดเกรดออนไลน์ ทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งเกรดให้กับสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลของหลักสูตรที่เป็น OBE อีกด้วย โดยสามารถเข้าถึงได้จาก URL : http://obe.cmu.ac.th/
ดังนั้นอาจารย์สามารถใช้ระบบทั้งสองควบคู่กันได้ โดย TLIC แนะนำให้ยึดระบบของสำนักทะเบียนเป็นหลักในการตรวจสอบความถูกต้องของเกรด โดยมีใบรายงานเกรด (CMR54) เป็นเอกสารหลักที่ยืนยันว่านักศึกษาในกระบวนวิชาได้เกรดใดในแต่ละรายวิชา
เฉพาะอาจารย์เจ้าของกระบวนวิชาเท่านั้น จึงจะสามารถตัดเกรดในกระบวนวิชานั้นๆได้ (Co-Instructor ไม่สามารถตัดเกรดแทน Instructor ได้ อ้างอิงตาม นโยบายของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ทั้งนี้ในระบบอาจารย์สามารถส่งคำเชิญผู้แก้ไขข้อมูลด้านในกระบวนวิชาได้
การทำงานของระบบตัดเกรด CMU Grade แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้
(1) การนำเข้าข้อมูลคะแนนและการตัดเกรด
การนำเข้าข้อมูลคะแนนทุกส่วนของนักศึกษาเข้าสู่ระบบตัดเกรด และ นำคะแนนมาตัดเกรดโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้ ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ที่ระบบ TLIC
(2) การบันทึกผลเกรดที่ทำการตัดเกรดเรียบร้อยแล้ว
ระบบของTLIC จะส่งผลเกรดไปยังฐานข้อมูลของสำนักทะเบียนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อบันทึกและประมวลผลอย่างเป็นทางการตลอดจนออกใบรายงานผลเกรด (CMR54)
กล่าวคือ เมื่อทำการส่งเกรดด้วยระบบตัดเกรด CMU Grade ของ TLIC แล้ว (http://obe.cmu.ac.th/) ไม่จำเป็นต้องส่งเกรดในระบบส่งเกรดของสำนักทะเบียนฯ แล้ว (https://grade.reg.cmu.ac.th/) อย่างไรก็ตามท่านควรตรวจเช็คสถานการส่งเกรดในระบบสำนักทะเบียนอีกครั้ง
Outcome-Based Education (OBE) คืออะไร?
CLO PLO คืออะไร? แล้วทั้งหมดนี้ทำไปเพื่ออะไร? คลิปนี้มีคำตอบ
แนะนำแนวทางการคำนวณ OBE พร้อมเครื่องมือที่จะช่วยให้ท่านสามารถประเมิน OBE ได้อย่างราบรื่น
Gradebook คือส่วนการจัดการคะแนนกิจกรรมทั้งหมดของผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การประเมินผลการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป
เลือกคอร์สที่ต้องการ
กดที่ปุ่ม Gradebook ด้านหลังวิชาที่ต้องการ
สำหรับวิชาที่ไม่พบในหน้า Home Page ของท่าน ให้ทำการสร้าง Gradebook ใหม่ได้ด้วยวิธีการดังนี้
กดที่ปุ่ม +Gradebook
ค้นหากระบวนวิชาที่ต้องการด้วยรหัสหรือชื่อคอร์ส กดเลือกกระบวนวิชาที่ต้องการ
เลือกตอนเรียน (Sections) ที่ต้องการ
กด Save
กดเข้าสู่ Gradebook เพื่อจัดการข้อมูลด้านในต่อได้ทันที