📝
คู่มือการใช้งาน CMU OBE Platform
  • คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
  • รู้จักระบบตัดเกรดและ Course Spec บน CMU OBE
  • กลับไปหน้าสารบัญคู่มือ
  • แนะนำเมนูส่วนต่างๆ
  • เริ่มต้นการใช้งาน
  • วิธีการตัดเกรด
    • การนำเข้าข้อมูลคะแนน
    • การตัดเกรด
    • การส่งเกรดไปยังสำนักทะเบียนและประมวลผล
  • การเชิญผู้อื่นเข้ามาแก้ไขคะแนนในรายวิชา
  • OBE Platform
    • ประเมินผล OBE
    • Course Performace
Powered by GitBook
On this page
  • ขั้นตอน 1. นำเข้ารายชื่อนักศึกษา
  • ขั้นตอนที่ 2. ตัดเกรด หน้าจอแสดงผลตัดเกรด
  • การกำหนดเกณฑ์การตัดเกรด
  • 1. การปรับค่าคะแนนด้วยตนเอง
  • 2. การเลื่อนช่วงคะแนนขึ้นหรือลง
  • 3. การคำนวณเกณฑ์ตัดเกรดขึ้นใหม่
  • การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-referenced)
  • การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (Norm-referenced)
  • การตัดเกรดแบบ Normalized T-Score
  • การตัดเกรดแบบ Stuit's Method
  • การตัดเกรดแบบผ่าน-ไม่ผ่าน
  • เอกสารอ้างอิงสูตรในการคำนวณ (Reference)

Was this helpful?

  1. วิธีการตัดเกรด

การตัดเกรด

สามารถทำได้ทั้งแบบปรับค่าคะแนนด้วยตนเอง เลื่อนช่วงคะแนนขึ้นและลง รวมถึงการคำนวณเกณฑ์การตัดเกรดขึ้นมาใหม่โดยใช้ แบบอิงเกณฑ์, แบบอิงกลุ่ม, แบบ Normalized T-Score, แบบ Stuit's Method และแบบผ่านไม่ผ่าน

Previousการนำเข้าข้อมูลคะแนนNextการส่งเกรดไปยังสำนักทะเบียนและประมวลผล

Last updated 1 year ago

Was this helpful?

ขั้นตอน 1. นำเข้ารายชื่อนักศึกษา

ระบบจะทำการดึงรายชื่อนักศึกษาจากข้อมูลตอนที่ทำตารางคะแนนเข้ามา โดยรายชื่อนักศึกษาที่ติด W หรือ I จะถูกดึงลงไปอยู่ในรายการ 'รายชื่อนักศึกษาที่ไม่นำไปคิดเกรด' โดยอัตโนมัติ กด เพื่อเข้าสู่การตัดเกรด

ขั้นตอนที่ 2. ตัดเกรด หน้าจอแสดงผลตัดเกรด

ระบบจะแสดงกราฟความถี่ของคะแนน โดยมีการแบ่งสีต่างๆเพื่อแยกแยะเกรด รวมทั้งมีป้ายกำกับใต้กราฟที่ระบุจำนวนนักศึกษาที่ได้เกรดแต่ละเกรด นอกจากนั้นระบบยังแสดงค่าสถิติของวิชานั้นๆด้วย ได้แก่ ค่าต่ำสุด(MIN) ค่าสูงสุด(MAX) ค่าเฉลี่ย(x̄) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) โดยค่าเหล่านี้จะแสดงอยู่ด้านบนของกราฟ ดังภาพ

การกำหนดเกณฑ์การตัดเกรด

โดย default การตัดเกรดจะใช้วิธีอิงเกณฑ์ ตัด A ที่ 80 คะแนน, B+ ที่ 75 คะแนน และลดลงไปตามลำดับ อย่างไรก็ตามอาจารย์สามารถปรับคะแนนช่วงเกรดในรูปแบบต่างๆได้ โดยสามารถปรับได้สามวิธี ดังนี้

1.ปรับค่าคะแนนด้วยตนเอง

2.เลื่อนช่วงคะแนนขึ้นหรือลง

3.คำนวณเกณฑ์ตัดเกรดขึ้นใหม่

1. การปรับค่าคะแนนด้วยตนเอง

วิธีนี้อาจารย์สามารถป้อนค่าขอบล่างของแต่ละช่วงเกรดตามที่ต้องการได้เอง โดยเพิ่มหรือลดเกรดแต่ละเกรดครั้งละ 0.1 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับแต่งเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ ให้เหมาะกับสถานการณ์

ระบบยังไม่สามารถพิมพ์แก้ไขช่วงคะแนนได้เอง ต้องกดที่ + หรือ - เท่านั้น เนื่องจากจะทำให้แต่ละช่วงเกรดขยับตามโดยเท่ากันทั้งหมด และป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

2. การเลื่อนช่วงคะแนนขึ้นหรือลง

ระบบตัดเกรดมีปุ่ม ปรับเกณฑ์ลดและเพิ่มคะแนนช่วงเกรด คือ "-0.1", "- 0.5" และ "+0.5", "+0.1" ซึ่งจะปรับเกณฑ์ของทุกช่วงเกรด(A, B+, B, C+, C, D+, D, F) ขึ้นหรือลงครั้งละ 0.1 หรือ 0.5 คะแนนเท่าๆกัน เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับการปรับเกรดโดยรวมของวิชาให้สูงหรือต่ำลงตามที่อาจารย์เห็นว่าเหมาะสม

3. การคำนวณเกณฑ์ตัดเกรดขึ้นใหม่

อาจารย์สามารถคำนวณเกณฑ์ขึ้นใหม่ได้โดยการกดปุ่ม "คำนวณเกณฑ์ตัดเกรด" โดยมีวิธีตัดเกรด 5 แบบดังนี้

1. การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์

2. การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม

3. การตัดเกรดแบบ Normalized T-Score

4. การตัดเกรดแบบ Stuit's Method

5. การตัดเกรดแบบผ่าน-ไม่ผ่าน

การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-referenced)

การตั้งค่าการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์

  • เกรดที่จะตัด : ใช้กำหนดขอบบนและล่างของเกรดที่ต้องการจะตัด เช่น สามารถปรับให้ไม่มีการตัด F หรือไม่มี A โดยการเลือกช่วงเกรดที่ D - B+ หมายถึง ให้คิดเกรดโดยเริ่มที่ D ไปจนถึง B+ เท่านั้น เป็นต้น

  • เกรดสูงสุดเริ่มต้นที่คะแนน : กำหนดค่าคะแนนของเกรดสูงสุด โดยปกติค่านี้เท่ากับ 80

  • ความกว้างช่วงเกรด : ใช้คำนวณว่าแต่ละเกรดมีคะแนนลดหลั่นจากเกรดก่อนหน้าเท่าใด ค่าปกติคือ 5 โดยสมมุติว่า A มีคะแนน 80 แสดงว่า B+ จะเริ่มที่คะแนน 80-5=75 คะแนน และเกรดอื่นๆ ก็จะลดหลั่นลงไป

การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (Norm-referenced)

การตั้งค่าการตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม

  • เกรดที่จะตัด : ใช้กำหนดขอบบนและล่างของเกรดที่ต้องการจะตัด เช่น สามารถปรับให้ไม่มีการตัด F หรือไม่มี A เป็นต้น

  • เกรดของนักศึกษาที่ได้คะแนนเท่าค่าเฉลี่ย : เป็นตัวเลื่อนที่ใช้ปรับเกรดเฉลี่ยของวิชานั้นๆ หากเลื่อนไปทางขวาแปลว่านักศึกษาโดยเฉลี่ยจะได้เกรดที่สูงขึ้น และถ้าเลื่อนไปในทางตรงกันข้ามก็จะทำให้นักศึกษาโดยรวมได้เกรดที่ต่ำลง

  • ความกว้างช่วงเกรด(SD) : โดยปกติแล้วความกว้างช่วงเกรดจะเท่ากับค่า SD แต่อาจารย์สามารถใส่ค่าตัวคูณเข้าไปได้ เช่นถ้าตัวคูณน้อยกว่า 1 (เช่น 0.5) ก็จะทำให้คะแนนช่วงเกรดแคบลงครึ่งหนึ่ง เช่นเดียวกันถ้าตัวคูณมากกว่า 1 (เช่น 2) ก็จะทำให้คะแนนช่วงเกรดกว้างขึ้น เป็นต้น

การตัดเกรดแบบ Normalized T-Score

การตั้งค่าการตัดเกรดแบบ Normalized T-Score

ระบบจะทำการคำนวณโดยใช้การคำนวณด้วย Normalized T-Score และสามารถเลือกเกรดที่จะตัดได้

การตัดเกรดแบบ Stuit's Method

การตั้งค่าการตัดเกรดแบบ Stuit's Method

  • เกรดที่จะตัด : ใช้กำหนดขอบบนและล่างของเกรดที่ต้องการจะตัด เช่น สามารถปรับให้ไม่มีการตัด F หรือไม่มี A เป็นต้น

  • ความกว้างช่วงเกรด (SD) : โดยปกติแล้วความกว้างช่วงเกรดจะเท่ากับค่า SD แต่อาจารย์สามารถใส่ค่าตัวคูณเข้าไปได้ เช่นถ้าตัวคูณน้อยกว่า 1 (เช่น 0.5) ก็จะทำให้คะแนนช่วงเกรดแคบลงครึ่งหนึ่ง เช่นเดียวกันถ้าตัวคูณมากกว่า 1 (เช่น 2) ก็จะทำให้คะแนนช่วงเกรดกว้างขึ้น เป็นต้น

  • ค่ามัธยฐาน (Median) : ระบบจะคำนวณค่ามัธยฐานหรือค่ากลางของข้อมูลให้อัติโนมัติโดยไม่สามารถแก้ไขได้

  • LLF(Low Limit Factor) : ดูได้จากตารางตัว LLF จะเป็นตัวปรับปรุงให้กลุ่มที่มีความสามารถต่างกัน จะมีจำนวนตนได้เกรด A ,B ,C ,D หรือ F ต่างกัน และไม่ต้องกำหนดว่าจะตัดกี่เกรด จะมี F หรือไม่ ผลของการตัดเกรดจะออกมาเองตามระดับความสามารถของกลุ่มที่เราประเมิน

การตัดเกรดแบบผ่าน-ไม่ผ่าน

การตั้งค่าการตัดเกรดแบบผ่านไม่ผ่าน

สามารถแก้ไขคะแนนที่จะตัดเกรดได้ที่ช่อง "ตัดคะแนนที่" เพื่อทำการตัดคะแนนที่ตำกว่าค่าที่กำหนดให้เป็น "ไม่ผ่าน" และ ตัดคะแนนที่สูงกว่าค่าที่กำหนดให้เป็น "ผ่าน"

เอกสารอ้างอิงสูตรในการคำนวณ (Reference)

รศ.ดรุณ หาญตระกูล, รศ.ดร.ต่าย เซี่ยงฉี, และ รศ.ประทีป จันทร์คง (2539). คู่มือการตัดเกรด. เชียงใหม่: งานพัฒนาคณาจารย์ กองบริหารการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

9MB
คู่มือการตัดเกรด โดย รศ.ดรุณ หาญตระกูล, รศ.ดร.ต่าย เซี่ยงฉี และ รศ.ประทีป จันทร์คง_compressed.pdf
pdf