เทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพ
การจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ที่เหมาะสม และ จัดองค์ประกอบสำคัญของภาพที่ดี จะช่วยให้สื่อที่ผลิตนั้นออกมามีคุณภาพ น่าสนใจ และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
การจัดองค์ประกอบของภาพ
การจัดองค์ประกอบของภาพ 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ภาพ เสียง และ แสง
การจัดองค์ประกอบของภาพ ทำได้โดยการจัดมุมกล้อง
การจัดองค์ประกอบของเสียง ทำได้โดยการจัดอุปกรณ์บันทึกเสียง
การจัดองค์ประกอบของแสง ทำได้โดยการจัดความสว่างและแสงไฟ ซึ่งจะมีหัวข้อย่อยคือ
1.แสงสว่าง 2.เงา 3.อารมณ์ของภาพ (Mood & Tone)
โดยในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดดังนี้
การจัดมุมกล้องที่ดีนั้นควรอยู่ในระดับสายตา หรือ สูงกว่าระดับสายตาของผู้บันทึกสื่อเล็กน้อยและทำมุมกดลงมาที่ตัวผู้บันทึกสื่อ เพื่อให้เห็นตัวผู้บันทึกสื่อได้อย่างชัดเจน ไม่ควรจัดมุมกล้องให้อยู่ในระดับต่ำเกินไปเพราะจะทำให้ภาพที่ออกมานั้นทำมุมเสยขึ้นมา ทำให้ตัวผู้บันทึกสื่อดูใหญ่กว่าความเป็นจริง ทำให้สัดส่วนที่ได้อาจไม่พอดี และดูไม่สบายตาได้
ทั้งนี้การมี Eye Contact ขณะบันทึกสื่อก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะทำให้ผู้บันทึกสื่อนั้นดูมีความเป็นมืออาชีพ ช่วยให้สื่อนั้นดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
แม้ว่าอุปกรณ์บันทึกเสียง หรือไมโครโฟนนั้น จะสามารถดูดเสียงรอบข้างได้ดีก็ตาม แต่การจัดวางไมโครโฟนที่ดีเพื่อการบันทึกเสียงอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ไม่ควรให้มีระยะห่างจากตัวผู้บันทึกสื่อเกิน 60 เซนติเมตร หรือ 2 ไม้บรรทัด
ทั้งนี้ท่านสามารถปรับระยะห่างของตัวไมโครโฟนเพื่อให้ปรากฏบนหน้าจอหรือปรับตำแหน่งเพื่อไม่ให้ตัวไมโครโฟนปรากฏบนหน้าจอได้
แสงไฟหรือความสว่าง ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบันทึกสื่อให้มีความสวยงาม น่าสนใจ ปริมาณแสงที่พอดีจะยิ่งทำให้สื่อของท่านมีความเป็นมืออาชีพและดูสวยงามมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญในการจัดแสงไฟนั้นมี 3 เรื่องหลักที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ แสงสว่าง เงา และ อารมณ์ของภาพ (Mood & Tone) โดยในแต่ละหัวข้อนั้นมีรายละเอียดดังนี้
1.แสงสว่าง
ในชุดอุปกรณ์ CMU EZ Studio นั้น มีแสงไฟ Ring Light ที่ช่วยเพิ่มความสว่างในกับสื่อของท่านอย่างเพียงพอ โดยตำแหน่งที่แนะนำในการจัดวางตำแหน่งแสงไฟ Ring Light คือ บริเวณด้านข้างของตัวผู้บันทึกสื่อ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ให้ความสว่างให้กับผู้บันทึกสื่อได้มากที่สุด ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับใบหน้าและลำตัวของผู้บันทึกสื่อได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ท่านสามารถปรับเปลี่ยนมุมของแสงที่ตกกระทบตัวผู้บันทึกสื่อ เพื่อเพื่อเพิ่มมิติ และ โทนของภาพหรือสื่อที่ออกมาได้
2.เงา
ในการบันทึกสื่อการเรียนการสอนนั้น พื้นหลังก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม มีข้อควรระวังคือระวังอย่าให้มีเงาของผู้บันทึกสื่อตกกระทบกับฉากหลัง ท่านสามารถเลี่ยงได้โดยการเว้นระยะห่างจากฉากหลังประมาณ 1 เมตร หรือ หากมีข้อจำกัดในด้านสถานที่ สามารถปรับแสงไฟให้สูงและมุมก้มลงมาเพื่อไม่ให้เงาของผู้บันทึกสื่อตกกระทบฉากหลัง
สามารถเปลี่ยนฉากหลักให้เป็นสถานที่ต่างๆได้โดยการใช้ green Screen ซึ่ง Green Screen นั้น ไม่จำเป็นต้อง ทาผนังสีเขียว หรือใช้ Green Screen แบบสำเร็จรูปซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ท่านสามารถประยุกต์ใช้จาก ผ้าสีเขียว หรือ กระดาษสีเขียวได้
3.อารมณ์ของภาพ(Mood & Tone)
TLIC จะขอกล่าวถึงการสร้างอารมณ์ภาพ หรือ Mood & Tone ที่เป็นที่นิยม 2 แบบ ได้แก่ 2 แบบ Cinematic และ แบบ Aura
Cinematic เน้นตัวผู้พูดให้ดูเด่นขึ้นมา
โดยจะทำให้พื้นหลังมืด และสาดแสงไปที่ตัวผู้พูดเพื่อให้ผู้พูดเด่นขึ้นมา โดยอาจปิดไฟในห้อง หรือ ใช้ Green Screen ในการนำฉากหลังสีทึบหรือสีมืดมาใส่แทน จะช่วยให้ผู้พูดดูเด่นขึ้นมา ให้อารมณ์ภาพแบบสุขุม นุ่มลึก เท่ และดูน่าค้นหาเป็นต้น
Aura เน้นความสว่างของทุกส่วนในวิดิโอ
วิธีนี้จะเน้นความสว่างของทั้งตัวผู้พูดและฉากหลัง โดยจะเหมาะกับการใช้ฉากหลังที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา ไม่รกรุงรัง จะช่วยให้สื่อของท่านดูน่าสนใจมากขึ้นเช่นกัน จะเห็นได้ว่าภาพที่ได้นั้นจะดูสดใส สะอาด สบายตา เรียบร้อย นุ่มนวล เป็นต้น
วิธีการจัดแสงไฟสำหรับอารมณ์ภาพในแบบต่างๆ เพิ่มเติม
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการจัดไฟในรูปแบบต่างๆ โดย Parker Walbeck ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพยนตร์และการถ่ายภาพ ซึ่งแบ่งเทคนิคการจัดไฟไว้ 5 รูปแบบคือ
1.Flat Lighting
การใช้แสงไฟส่องเข้าโดยตรงที่ใบหน้า ทำให้ไม่เกิดเงาที่ส่วนใดเลยของใบหน้า มักใช้เมื่อต้องการเน้นรายละเอียดบนผิวหน้าโดยเฉพาะ
2.Paramount Lighting (ฺButerrfly Lighting)
การจัดไฟมุมสูง เพื่อให้เกิดเงาใต้จมูกคล้ายรูปผีเสื้อ ซึ่งมีข้อควรระวังในการจัดตำแหน่ง หากจัดตำแหน่งสูงเกินไปจะทำให้เกิดเงาในส่วนของคิ้วที่ตกกระทบมาที่ดวงตาทำให้เกิดเป็นตาแรคคูนหรือตาแพนด้าได้ หรือหากจัดตำแหน่งแสงไฟไว้ต่ำเกินไปจะทำให้เงาบริเวณใต้คางและใต้จมูกหายไป
3.Loop Lighting
การวางตำแหน่งไฟให้เกิดเงาลักษณะวงกลมจากปีกจมูกมาตกลงบนแก้ม(ตามภาพ) ช่วยให้ใบหน้ามีรูปทรงที่ยาวและเรียวมากขึ้น
4.Rembrandt Lighting
การจัดแสงหลัก(Key Light)ให้เฉียงไปด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้าประมาณ 45 องศา ทำให้เงา Loop Light ที่ปีกจมูกขยับไปรวมกับเงาที่บริเวณแก้มด้านข้าง ทำให้เกิดเงารูปทรงสามเหลี่ยมบริเวณใต้ดวงตา(ตามภาพ) เป็นรูปแบบแสงที่นิยมใช้กันมากในวงการภาพยนตร์ ช่วยให้เกิดมิติบนใบหน้าได้ถึง 3 จุดในการจัดแสงครั้งเดียว
5.Split Lighting
การขยับแสงหลักไปด้านข้างของใบหน้า 90 องศา ทำให้ใบหน้าด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งเกิดเงาโดยสมบูรณ์ (หรือก็คือใบหน้าข้างหนึ่งสว่าง อีกข้างหนึ่งมืด) เหมาะสำหรับโทนภาพที่ต้องการอารมณ์เข้มแข็ง รุนแรงของเพศชาย ซึ่งแตกต่างจาก Paramount Lighting ที่จะให้โทนภาพสื่อถึงอารมณ์นุ่มนวลของเพศหญิง
Last updated