คู่มือการใช้งาน CMU EZ Studio
  • คำถามที่พบบ่อย FAQs
  • กลับไปยังสารบัญคู่มือ
  • แนะนำ EZ Series
    • แนะนำชุดอุปกรณ์ CMU EZ Studio
    • การเชื่อมต่ออุปกรณ์ CMU EZ Studio
    • การจัดวางอุปกรณ์ CMU EZ Studio
  • การจองใช้งานห้อง EZ Rooms
    • ข้อตกลงการใช้งานห้อง EZ
    • การจองใช้งานห้อง EZ Self Studio และ EZ Active Classroom
      • การแก้ไขเวลาในการจองใช้งาน
      • ยกเลิกการจองใช้งาน
      • ตรวจสอบการจอง
    • การเข้าใช้งานห้อง หลังจองเรียบร้อยแล้ว
  • คู่มือการใช้งานชุดอุปกรณ์ CMU EZ Studio
    • คู่มือการเข้าใช้งานห้อง CMU EZ Studio
    • คู่มือการใช้ชุดอุปกรณ์ในห้อง EZ Studio
      • คู่มือการใช้เครื่อง CMU EZ Studio Controller
        • Version 3.0 (Version ปัจจุบัน)
        • Version 1.0, 2.0 (Version เก่า)
      • คู่มือการใช้แสงไฟ Ring Light LED
        • LD-500 Portable Ring Light (รุ่นใหม่)
        • Ring Light LED CY-R50L (รุ่นเก่า)
      • คู่มือการใช้กล้อง Webcam
      • คู่มือการใช้ไมโครโฟน
  • เทคนิคการออกแบบและบันทึกสื่อ
    • แนวคิดในการออกแบบสื่อ Online
    • เทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพ
    • เทคนิคบันทึกสื่อการสอนโดยไม่ต้องตัดต่อ
      • Power Point Recorder
      • MS Stream
      • Logitech Capture
      • NVIDIA Broadcast
      • OBS Studio
  • การติดตั้งที่จำเป็น
    • ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมสำหรับบันทึกสื่อ
    • การติดตั้งโปรแกรมสำหรับเครื่อง EZ Studio Controller
  • การใช้งาน OBS ร่วมกับ Platform ต่างๆ
    • Live stream และ OBS คืออะไร?
      • OBS x Facebook
      • OBS x Microsoft Stream
      • OBS x Microsoft Teams
      • OBS x NVDIA Broadcast
      • OBS x YouTube
      • OBS x Zoom
Powered by GitBook
On this page
  • แนวคิดในการออกแบบสื่อออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ
  • แนวคิดในการจัดการเรียนรู้คู่สื่อ Online
  • 5 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้คู่สื่อ Online
  • 1. การใช้ Asynchronous Learning
  • 2. เปลี่ยนเวลาในคาบเรียนให้เป็น Active Learning
  • 3. การสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการเรียนรู้จากสื่อ Online
  • 4. ใช้ประโยชน์จาก Peer Learning
  • 5. ให้เวลาและสื่อสารกับนักศึกษาให้มากๆ

Was this helpful?

  1. เทคนิคการออกแบบและบันทึกสื่อ

แนวคิดในการออกแบบสื่อ Online

Online Media Design หรือแนวคิดในการออกแบบสื่อ Online ที่ดีถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อให้สื่อที่ออกมามีความเป็นมืออาชีพ น่าสนใจ และกระตุ้นความใฝ่รู่ ใฝ่เรียนของผู้เรียน

Previousคู่มือการใช้ไมโครโฟนNextเทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพ

Last updated 7 months ago

Was this helpful?

แนวคิดในการออกแบบสื่อออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากตัวสื่อการเรียนการสอนออนไลน์นั้น เป็นการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารทางเดียว แม้ว่านักศึกษาจะสามารถเข้าเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายิ่งสื่อที่น่าสนใจและน่าดึงดูดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งกระตุ้นความอยากเรียนและความสนใจของนักศึกษาได้มากขึ้นเท่านั้น

หลักการที่สำคัญในการทำสื่อการเรียนการสอนหรือสื่อบรรยายออนไลน์นั้น ควรทำให้เป็นคลิปวิดิโอย่อยสั้นๆ ไม่เกิน 7 นาที ต่อ 1 คลิป และแนะนำให้คั่นวิดิโอหนึ่ง ไปสู่อีกวิดิโอหนึ่งด้วยกิจกรรม เพื่อเป็นการกระตุ้นผู้เรียน โดยกิจกรรมที่ท่านนำมาคั่นอาจจะเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน หรือ การทดสอบเล็กๆน้อยๆเพื่อทวนความเข้าใจของผู้เรียน เป็นต้น

แนวคิดในการจัดการเรียนรู้คู่สื่อ Online

5 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้คู่สื่อ Online

1. การใช้ Asynchronous Learning

ลดการสอนภาคทฤษฏีหรือการบรรยายในห้องเรียน รวมถึงการบรรยายผ่านไลฟ์สด หรือ การบรรยายผ่านทางสื่อ Online Meeting เช่น Zoom, Microsoft Teams และ Facebook Live เป็นต้น โดยย้ายเนื้อหาการเรียนการสอนต่างๆไปสู่การทำสื่อการเรียนการสอน Online บนแพลตฟอร์ม Online แทน

2. เปลี่ยนเวลาในคาบเรียนให้เป็น Active Learning

เนื่องจากปรับการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นแบบ Online แล้ว อาจารย์สามารถเปลี่ยนกิจกรรมในห้องเรียนให้เป็นลักษณะของ Active Learning มากยิ่งขึ้น โดยเน้นให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา และเน้นกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษามีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น กิจกรรมที่ให้นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็น กิจกรรมนำเสนอแนวคิด หรือ นำเสนองานของนักศึกษา เป็นต้น

3. การสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาในการเรียนรู้จากสื่อ Online

สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา โดยการอธิบายถึงประโยชน์ของสื่อ Online ที่อาจารย์ได้จัดทำไว้ให้กับนักศึกษา ให้นักศึกษาสามารถที่จะเรียนรู้ในหัวข้อที่ตนสนใจได้ตลอดเวลา หรือสามารถศึกษาเนื้อหาล่วงหน้าได้ โดยอาจเริ่มจากการชี้แจงถึงกิจกรรมในคาบเรียนถัดไปเพื่อให้นักศึกษากระตือรือร้นและเตรียมความพร้อม เช่น เก็บคะแนนในชั้นเรียน หรือทำ Quiz ในชั้นเรียนถัดไป หรือ ให้คะแนนพิเศษเมื่อตอบคำถามพิเศษในชั้นเรียนถัดไปได้เป็นต้น

4. ใช้ประโยชน์จาก Peer Learning

การใช้วิธี Peer Learning เป็นวิธีที่ได้ผลดีมากในวิชาที่มีนักศึกษาจำนวนมาก เช่น มีแบบฝึกหัดให้กับนักศึกษาและให้เพื่อนร่วมชั้นเรียน เข้ามาตรวจงานเป็นต้น ซึ่งวิธีนี้ก็ถือเป็นการทบทวนความรู้ ความมั่นใจของตัวนักศึกษาที่เป็นผู้ตรวจด้วย ทั้งนี้ท่านอาจทำ Study Group เพื่อให้นักศึกษาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อที่ท่านกำลังสอนอยู่

5. ให้เวลาและสื่อสารกับนักศึกษาให้มากๆ

ในการเรียนการสอนออนไลน์นั้น เนื่องจากไม่ได้พบกับนักศึกษา อาจทำให้นักศึกษารู้สึกห่างเกิน หรือ รู้สึกว่าอาจาย์ไม่มีเวลาในการปรึกษา หรือ สอบถามคำถามต่างๆ ได้ ดังนั้นอาจารย์อาจจะต้องมีความเคลื่อนไหวเพื่อแสดงความใส่ใจแก่นักศึกษาด้วย เช่น มีการโพสต์ย้ำเตือนกำหนดส่งงานต่าง การสอบถามความเห็นแบบไม่มีผิดไม่มีถูกหรือการรับฟังความเห้นข้อเสนอแนะของนักศึกาา การให้คำปรึกษา ถามตอบคำถาม ให้ข้อมูลเป็นต้น จะช่วยให้นักศึกษารู้สึกอุ่นใจและเห็นว่าอาจารย์มีความเอาใจใส่มากขึ้น

แนวทางในการออกแบบสื่อ Online