MatthewAI
  • CMU Matthew AI คืออะไร?
  • คุณสมบัติผู้ใช้งานและขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ
  • Full Credits
  • กลับไปหน้าคู่มือทั้งหมด
  • การเริ่มต้นใช้งาน (Getting Started)
    • รู้จัก Matthew Interface
    • การสร้างผู้ช่วยสอน AI (AI Teaching Assistant)
      • General Setting
      • Available Tools Setting
      • Knowledge Setting
      • Access Control Setting
    • การเปิด-ปิด การแก้ไข การดูสถิติการใช้ และจำนวน tokens ที่เหลือ
    • วิดิโอแนะนำ CMU Mattew Gen AI
  • เทคนิคการใช้ Prompt ให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด
    • พื้นฐานการเขียน Prompt (โครงสร้างที่ดีของ Prompt)
    • Prompt Techniques
      • The Persona Pattern
      • The Audience Persona Pattern
      • Chain of Thought (CoT) Pattern
      • Zero Shot and Few Shot Prompting
  • ตัวอย่างการสร้าง prompt ในกระบวนวิชาต่างๆ
    • การสร้าง Interactive Quiz
    • EduBot, InnoBot, Botnoi: AI Assistants for Education and Creativity
    • Matti & Kathi: Generative AI prompt trainer
  • ปัญหาที่พบบ่อย (FAQ) และความปลอดภัยของข้อมูล
    • FAQs คำถามที่พบบ่อย
    • นโยบายการจัดการและความปลอดภัยของข้อมูล
    • ช่องทางติดต่อทีมสนับสนุน
Powered by GitBook
On this page
Export as PDF
  1. เทคนิคการใช้ Prompt ให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด
  2. Prompt Techniques

The Persona Pattern

The Persona Pattern เป็นเทคนิคที่ใช้ใน Prompt Engineering เพื่อสร้าง “บุคลิก” (Persona) ให้กับ AI หรือผู้ช่วยดิจิทัล โดยกำหนดลักษณะเฉพาะตัวของ AI ให้ตอบสนองผู้ใช้ด้วยสไตล์ (Style), น้ำเสียง (Tone & Manner), ความรู้ (Expertise) และมุมมองที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทที่ต้องการ

องค์ประกอบหลักของ The Persona Pattern ประกอบด้วย

  • Identity (ตัวตน) ที่ระบุว่าผู้ช่วย AI เป็นใคร เช่น แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ หรือโค้ชสุขภาพ

  • Tone & Manner (น้ำเสียงและท่าที) ที่บ่งบอกอารมณ์หรือสไตล์การสื่อสาร เช่น เป็นมิตร วิชาการ สนุกสนาน หรือจริงจัง

  • Knowledge & Expertise (ความรู้และความเชี่ยวชาญ) ที่ครอบคลุมขอบเขตความรู้ที่ต้องการ เช่น การแพทย์ เทคโนโลยี หรือธุรกิจ

  • และ Values & Perspective (ค่านิยมและมุมมอง) ที่ระบุว่าควรมีมุมมองแบบใด เช่น เน้นหลักวิทยาศาสตร์ จริยธรรม หรือเน้นความยืดหยุ่น เพื่อทำให้ AI สามารถสื่อสารและให้คำแนะนำได้อย่างสอดคล้องและตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้งานมากที่สุด

โดยมีรูปแบบทั่วไปคือ

สมมุติว่าคุณคือ [บุคลิคของคนที่ต้องการให้ช่วย] อธิบาย/ตอบคำถาม [สิ่งที่ต้องการให้ Generative AI ช่วย]


ตัวอย่างการใช้ The Persona Pattern ในการสร้าง Prompt

1. Prompt ทั่วไป

❌ "แนะนำอาหารเพื่อสุขภาพให้หน่อย" (ขาดความเฉพาะเจาะจง น้ำเสียงไม่แน่นอน)

2. Prompt ที่ใช้ Persona Pattern

✅ "คุณเป็นนักโภชนาการที่มีประสบการณ์และชอบให้คำแนะนำในเชิงปฏิบัติ คุณใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและให้คำแนะนำที่เป็นมิตร โปรดแนะนำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่ยังต้องการความอร่อย"

ตัวอย่างที่ 1:

คุณคือ Andrew Ng หนึ่งในผู้บุกเบิกและผู้นำด้าน AI ผู้ก่อตั้ง DeepLearning.AI และ Coursera และดำรงตำแหน่งประธานบริหารของ Landing AI

โปรดอธิบายเกี่ยวกับ Generative AI โดยใช้ความรู้และประสบการณ์จริงของคุณในฐานะผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้าน AI คนสำคัญ โดย

ขอบเขตเนื้อหา (Scope) ดังนี้

  • อธิบายความหมายและกลไกเบื้องหลังของ Generative AI

  • เล่าถึงภูมิหลังและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้

  • ยกตัวอย่างการนำ Generative AI ไปใช้ในงานจริง หรือโอกาสทางธุรกิจและอุตสาหกรรม

  • อธิบายข้อควรระวังหรือความท้าทายในการพัฒนาและนำ Generative AI ไปใช้งานในวงกว้าง

  • แสดงวิสัยทัศน์ในอนาคตของ Generative AI จากมุมมองของคุณเอง ในฐานะผู้ที่ได้เห็นการเติบโตของ AI มาโดยตลอด

รูปแบบการสื่อสาร (Style):

  • ใช้น้ำเสียงที่เป็นกันเอง แต่ยังคงน่าเชื่อถือและเข้าใจง่าย

  • สอดแทรกประสบการณ์หรือเหตุการณ์ส่วนตัวเพื่อเชื่อมโยงกับผู้ฟัง

  • ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และเป้าหมายในการพัฒนา AI เพื่อประโยชน์กับสังคมในวงกว้าง

PreviousPrompt TechniquesNextThe Audience Persona Pattern

Last updated 3 months ago