คู่มือการใช้งาน CMU EZ Studio
  • คำถามที่พบบ่อย FAQs
  • กลับไปยังสารบัญคู่มือ
  • แนะนำ EZ Series
    • แนะนำชุดอุปกรณ์ CMU EZ Studio
    • การเชื่อมต่ออุปกรณ์ CMU EZ Studio
    • การจัดวางอุปกรณ์ CMU EZ Studio
  • การจองใช้งานห้อง EZ Rooms
    • ข้อตกลงการใช้งานห้อง EZ
    • การจองใช้งานห้อง EZ Self Studio และ EZ Active Classroom
      • การแก้ไขเวลาในการจองใช้งาน
      • ยกเลิกการจองใช้งาน
      • ตรวจสอบการจอง
    • การเข้าใช้งานห้อง หลังจองเรียบร้อยแล้ว
  • คู่มือการใช้งานชุดอุปกรณ์ CMU EZ Studio
    • คู่มือการเข้าใช้งานห้อง CMU EZ Studio
    • คู่มือการใช้ชุดอุปกรณ์ในห้อง EZ Studio
      • คู่มือการใช้เครื่อง CMU EZ Studio Controller
        • Version 3.0 (Version ปัจจุบัน)
        • Version 1.0, 2.0 (Version เก่า)
      • คู่มือการใช้แสงไฟ Ring Light LED
        • LD-500 Portable Ring Light (รุ่นใหม่)
        • Ring Light LED CY-R50L (รุ่นเก่า)
      • คู่มือการใช้กล้อง Webcam
      • คู่มือการใช้ไมโครโฟน
  • เทคนิคการออกแบบและบันทึกสื่อ
    • แนวคิดในการออกแบบสื่อ Online
    • เทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพ
    • เทคนิคบันทึกสื่อการสอนโดยไม่ต้องตัดต่อ
      • Power Point Recorder
      • MS Stream
      • Logitech Capture
      • NVIDIA Broadcast
      • OBS Studio
  • การติดตั้งที่จำเป็น
    • ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมสำหรับบันทึกสื่อ
    • การติดตั้งโปรแกรมสำหรับเครื่อง EZ Studio Controller
  • การใช้งาน OBS ร่วมกับ Platform ต่างๆ
    • Live stream และ OBS คืออะไร?
      • OBS x Facebook
      • OBS x Microsoft Stream
      • OBS x Microsoft Teams
      • OBS x NVDIA Broadcast
      • OBS x YouTube
      • OBS x Zoom
Powered by GitBook
On this page
  • แนะนำ Power Point Recorder
  • วิธีการเปิดการใช้งานเมนู Recording
  • แถบเครื่องมือ Power Point Record Slide Show
  • แถบเครื่องมือบริเวณด้านบน
  • แถบเครื่องมือบริเวณด้านล่าง
  • วิธีการ Record Slide Show
  • วิธีการบันทึกไฟล์ หลังจากที่ทำการ Record Slide Show
  • วิธี Export to Video
  • วิธี Publish to Stream

Was this helpful?

  1. เทคนิคการออกแบบและบันทึกสื่อ
  2. เทคนิคบันทึกสื่อการสอนโดยไม่ต้องตัดต่อ

Power Point Recorder

หากท่านต้องการบันทึกหน้าจอด้วยโปรแกรมที่ไม่ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ของท่าน พร้อมกับการใช้งานที่ง่ายที่สุด แน่นอนว่า Power Point Recorder สามารถตอบโจทย์ท่านได้อย่างแน่นอน

Previousเทคนิคบันทึกสื่อการสอนโดยไม่ต้องตัดต่อNextMS Stream

Last updated 3 years ago

Was this helpful?

แนะนำ Power Point Recorder

ท่านสามารถบันทึกหน้าจอคอมพิวเตอร์และเสียงที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ Power Point Recorder เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้งานงายที่สุด จึงอาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดย TLIC ได้เปรียบเทียบข้อดี และ ข้อจำกัดของการใช้ Power Point ในการบันทึกสื่อการเรียนการสอนไว้ดังนี้

ข้อดี

ข้อจำกัด

สามารถแก้ไข หรือบันทึกใหม่ในแต่ละสไลด์ได้

โดยไม่ต้องบันทึกใหม่ทั้งหมด

เนื่องจากมีการ Fade in และ fade out

ทำให้เสียงขาดหายได้

แนะนำสำหรับ Microsoft Power Point Version 2016 ขึ้นไป

วิธีการเปิดการใช้งานเมนู Recording

ในกรณีที่ Power Point ของท่าน ไม่มีเมนู Recording บนแถบเครื่องมือ ให้ท่านดำเนินดังนี้

  1. ไปที่แถบเมนูบริเวณด้านบนของ Power Point

  2. คลิ๊กขวาบริเวณแถบเครื่องมือ

  3. เลือกเมนู Customize the Ribbon

  4. ไปที่เมนู Recording

  5. เมนูนี้จะปรากฏในหน้าแถบเครื่องมือของท่าน โดยเมื่อกดเข้าไปแล้วจะมี เมนูย่อย 4 หมวดหลักได้แก่

    1. Record ประกอบด้วยเมนู " Record Slide Show "

    2. Content ประกอบด้วยเมนู Forms, Screenshot

    3. Auto-play Media ประกอบด้วยเมนู Screen recording, Video, Audio

    4. Save ประกอบด้วยเมนู Save as Show, Export to Video, Publish to Stream

ในบาง Version ท่านอาจจะต้องไปที่เมนู Record Slide Show โดยวิธีการดังนี้

  1. ไปที่แถบเมนูบริเวณด้านบนของ Power Point

  2. ไปที่เมนู Slide Show

  3. ไปที่เมนู " Record Slide Show "

แถบเครื่องมือ Power Point Record Slide Show

แถบเครื่องมือบริเวณด้านบน

  1. ปุ่ม Record กดเพื่อ ทำการบันทึกสไลด์ของท่าน

  2. ปุ่ม Stop กดเพื่อหยุดการบันทึกของท่าน

  3. ปุ่ม Replay กดเพื่อดูสิ่งที่ท่านทำการบันทึกไว้

  1. เมื่อท่านเพิ่ม Notes ในสไลด์แต่ละหน้าของท่านแล้ว ในส่วนของ Notesนี้จะแสดงข้อความบริเวณส่วนบนของหน้าจอขณะบันทึกสไลด์โดยท่านสามารถปรับลดหรือเพิ่มขนาดได้ ในส่วนของวิธีการเพิ่ม Notes นั้น สามารถไปที่หน้าสไลด์และไปที่เมนู View Note เพื่อใส่ สคริปต์ หรือ Notes ของท่านได้

  1. เมนู Clear สามารถลบ Record สามารถเลือกลบทั้งหมด หรือเลือกลบเฉพาะสไลด์ได้

  2. เมนู Setting ท่านสามารถเลือก Microphone และ Camera ที่ท่านต้องการได้ (ในกรณีที่มีกล้องหรือไมโครโฟนหลายตัว)

แถบเครื่องมือบริเวณด้านล่าง

  1. Pointer ท่านสามารถกดเพื่อใช้ชี้ไปในบริเวณที่ท่านต้องการ

  2. ยางลบ ท่านสามารถใช้ลบ สิ่งที่ท่านขีดเขียนลงบนสไลด์ได้

  3. ปากกา ท่านสามารถเขียนบันทึกหรือเขียนสัญลักษณ์ลงบนสไลด์ได้ตามต้องการ

  4. ปากกาไฮไลท์ ท่านสามารถเน้นข้อความบนสไลด์ได้ตามที่ท่านต้องการ

  5. แถบสีต่างๆ ท่านสามารถเปลี่ยนสีของเครื่องมือต่างๆได้ตามแถบสีที่แสดงบนหน้าจอ เช่น สีของปากกา สีของ Highlight เป็นต้น

  1. ปุ่มไมโครโฟน สามารถเปิดปิดไมโครโฟน เพื่อ บันทึกเสียงของท่านหรือเลือกที่จะปิดไมค์เพื่อไม่บันทึกเสียงได้

  2. ปุ่มวิดิโอ เปิดหรือปิดวิดิโอของท่าน โดยวิดิโอจะแสดงอยู่บริเวณมุมขวาด้านล่าง (ไม่มีระบบกัดภาพพื้นหลัง)

วิธีการ Record Slide Show

1. ไปที่เมนู Recording และเลือก "Record Slide Show" โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะทำการบันทึกโดยเริ่มจากสไลด์บันจุบัน(Record from Current Slide) หรือ จากสไลด์แรก (Record from Beginning)

2. เมื่อท่าน กดปุ่ม Record from Current Slide หรือ Record from Beginning จะปรากฏหน้าจอดังนี้

3. กดปุ่ม Record เพื่อทำการบันทึก Slide Show ของท่าน

4. เมือทำการบันทึก ปุ่ม Record จะเปลี่ยนเป็น ปุ่ม Pause ดังภาพ ท่านสามารถกด Pause เพื่อทำการหยุดพักการบันทึกชั่วคราวได้ หรือกด Stop เพื่อหยุดการบันทึกได้

5. ท่านสามารถกดปุ่ม Replay ในสไลด์ที่ท่านต้องการเพื่อดูและฟังเสียงที่ท่านได้ทำการบันทึกไว้ในแต่ละไสไลด์ได้

6.ในกรณีที่ เกิดข้อผิดพลาดในบางสไลด์และต้องการแก้ไข ท่านสามารถกดปุ่ม Clear และเลือกลบ Record ทั้งหมด หรือเลือกลบเฉพาะสไลด์ที่ท่านต้องการแก้ไขได้ จากนั้นทำการบันทึกสไลด์นั้นใหม่

7. เมื่อทำการบันทึกเรียบร้อย จะเห็นได้ว่าในทุกสไลด์จะปรากฏสัญลักษณ์รูปลำโพงดังภาพ โดยท่านสามารถกดฟังเสียงบรรยายได้ วิธีการนี้มีข้อดีคือหากท่านส่งไฟล์ Power Point นี้ ให้ผู้อื่นก็จะมีเสียงบรรยายนี้ประกอบสไลด์แต่ละสไลด์ที่ท่านได้ทำการบันทึกไว้ และถูกบันทึกลงในไฟล์ Power Point นี้เลย แต่อาจมีข้อเสียตรงที่ขนาดไฟล์อาจจะค่อนข้างใหญ่

วิธีการบันทึกไฟล์ หลังจากที่ทำการ Record Slide Show

ไปที่เมนู Save ท่านสามารถบันทึกโดยวิธีการ Save as Show, Export to Video หรือ Publish to Stream แต่วิธีที่แนะนำจะเป็นวิธีการ Export to Video และ Publish to Stream

วิธี Export to Video

ท่านสามารถเลือกคุณภาพของไฟล์ได้ดังนี้

  1. Standard (480p)

  2. HD (720p

  3. Ultra HD (4K)

ยิ่งคุณภาพที่สูงจะยิ่งมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่และใช้เวลาในการ save ค่อนข้างนาน แต่หากเลือกคุณภาพต่ำเกินไปก็อาจจะส่งผลให้วิดิโอของท่าน มีความละเอียดไม่มากพอ ทำให้ดูไม่มีความเป็นมืออาชีพได้

เมื่อกด Export แล้ว ระบบจะแสดงสถานะที่บริเวณแถบด้านล่าง ดังภาพ

วิธี Publish to Stream

เมื่อท่านกดเมนู Publish to Stream ท่านจะพบกับหน้าจอดังภาพ เพื่อให้ท่านตั้งค่าเพิ่มเติมดังนี้

  1. ตั้งชื่อคลิปของท่านในส่วน Title

  2. ท่านสามารถเพิ่มคำบรรยายได้ในส่วนของ Description

  3. กด Publish เพื่อ Upload วิดิโอของท่านเข้าสู่ Strems ของท่าน

เมื่อทำการ Publish เรียบร้อยแล้ว ในหน้า Stream จะปรากฏคลิปที่ท่านทำการอัดไว้ดังภาพ

สามารถบันทึกเสียงและภาพแยกเป็นสไลด์

ระวังในการพูดระหว่างการเปลี่ยนสไลด์

ใช้งานง่าย

ไม่มีฟังก์ชั่นกัดภาพพื้นหลัง

มีสคริปต์บนหน้าจอจากฟังก์ชั่น Notes

ไม่มีฟังก์ชั่นตัดเสียงรบกวน

กดเครื่องหมาย เพื่อเปิดเมนู Recording

• แถบเครื่องมือบริเวณฝั่งซ้ายมือ

• แถบเครื่องมือบริเวณส่วนกลาง

• แถบเครื่องมือบริเวณฝั่งขวามือ

• แถบเครื่องมือบริเวณด้านล่าง

• แถบเครื่องมือบริเวณฝั่งขวามือ

Full HD (1080p) แนะนำ

ท่านสามารถตั้งค่าการเข้าถึงคลิปวิดิโอของท่านได้โดยการ กดเครื่องหมาย ในส่วนของ Allow everyone in your organization to see this video เพื่ออนุญาตให้ผู้ที่มี CMU Account สามารถเข้าดูคลิปวิดิโอของท่นได้ หากต้องการตั้งค่ารายละเอียดเพิ่มเติม ท่านสามารถเข้าไปตั้งค่าใน Stream ได้

✅
⭐
✅
✅
❌
✅
❌
✅
❌
⭐