Logitech Capture
โปรแกรมที่ตอบโจทย์ในเรื่องของความสามารถในการบันทึกสื่อและการใช้งานที่ไม่ยากจนเกินไป Logitech Capture จึงเป็นโปรแกรมที่เป็นที่นิยมที่สุดในการบันทึกสื่อในยุคนี้
Last updated
Was this helpful?
โปรแกรมที่ตอบโจทย์ในเรื่องของความสามารถในการบันทึกสื่อและการใช้งานที่ไม่ยากจนเกินไป Logitech Capture จึงเป็นโปรแกรมที่เป็นที่นิยมที่สุดในการบันทึกสื่อในยุคนี้
Last updated
Was this helpful?
โปรแกรมบันทึกและสร้างสื่อการเรียนการสอนที่นิยมใช้ในปัจจุบันนั้นมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ในบางโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมากก็อาจจะมีความสามารถที่จำกัดไปด้วย เช่น Power Point Recorder ที่มีข้อจำกัดในด้านของการกัดพื้นหลัง การลดเสียงรบกวน และ สลับแหล่งภาพระหว่างวิดิโอของผู้บันทึกสื่อกับสื่อการเรียนการสอนเป็นต้น หรือในบางโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชั่นและมีความเป็นมืออาชีพสูง เช่น OBS Studio ก็อาจจะต้องแลกกับการใช้งานที่ยาก ใช้เวลาในการเรียนรู้ที่ค่อนข้างนาน
Logitech Capture จึงถือเป็นโปรแกรมที่ตอบโจทย์ในเรื่องของความสามารถในการบันทึกสื่อและการใช้งานที่ไม่ยากจนเกินไปสามารถเรียนรู้ได้ง่าย Logitech Capture จึงเป็นโปรแกรมที่เป็นที่นิยมที่สุดในการบันทึกสื่อการเรียนการสอน
การกำหนด Scene 1 และ Scene 2 นั้นเป็นสิ่งสำคัญในการบันทึกสื่อโดยใช้ Logitech Capture เพื่อให้มีความลื่นไหลในการสลับ Scene หรือ สลับเนื้อหาที่กำลังกล่าวถึง ทำให้สื่อของท่านมีความน่าสนใสและดูเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น การกำหนด Scene หลัก หรือ Scene ที่ 1 นั้น โดยปกติมักจะกำหนดให้เป็นกล้อง Webcam ที่สามารถบันทึกใบหน้าของผู้สอน ส่วน Scene รอง หรือ Scene ที่ 2 นั้น มักจะกำหนดเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เตรียมไว้เช่น รูปภาพงานนำเสนอ หรือวิดิโอประกอบการเรียนการสอน เป็นต้น
โดยเมื่อทำการกำหนด Scene 1 และ Scene 2 เรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถจัดการรูปแบบในการแสดงผลได้ทั้งหมด 6 รูปแบบด้วยกัน ดังภาพด้านล่าง
การตั้งค่าแหล่งที่มาของสื่อแหล่งที่ 1 (Scene 1) โดยจะมีการตั้งค่าในส่วนย่อยต่างๆดังนี้
Source 1 2. Priority 3. Field of View 4. HDR 5. Zoom 6. Auto Focus 7.Auto White Balance
8. Image Setting 9.Anto-Flicker 10. Chroma Key 11. Advanced Setting
การตั้งค่าแหล่งที่มาของสื่อแหล่งที่ 2 (Scene 2) โดยจะมีการตั้งค่าในส่วนย่อยต่างๆดังนี้
Source 2 2. Logitech Cameras 3. Screen Capture 4. Window Capture 5.Advanced Setting
การตั้งค่าเพิ่มเติม มีการตั้งค่าในส่วนย่อยต่างๆดังนี้
Watermark 2. Text Overlay 3.Scene Effects
การตั้งค่ากล้อง (Webcam) มีการตั้งค่าในส่วนย่อยต่างๆดังนี้
Resolution 2. FPS 3.Video Encoder 4.Media Files Location 5.Advanved Setting
การตั้งค่าเสียง (Microphone)
การตั้งค่าปุ่มลัด
การตั้งค่าโปรไฟล์เพื่อบันทึกการตั้งค่าทั้งหมด
ไปที่ส่วน Dropdown List ของ Source 1 เพื่อทำการเลือกสื่อที่จะแสดงผลใน Source 1 แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ
Logitech Cameras ระบบจะแสดงชื่อกล้องทั้งหมดที่ท่านมีในตัวเครื่องของท่าน (แนะนำให้เลือก Logitech C922)
Screen capture (เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการเปิดหลายโปรแกรม) ระบบจะบันทึกทุกโปรแกรมที่ท่านเปิดไว้ บนหน้าจอของท่าน ในกรณีที่ท่านมี 2 หน้าจอ จะมีตัวเลือกให้ท่านเลือก Display 1 และ Display 2 แต่หากท่านมีเพียง 1 หน้าจอท่านสามารถเลือก Display 1 ได้เลย
Window Capture (เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการเปิดโปรแกรมเดียว เช่น เปิด Power Point 1 โปรแกรม) ระบบจะบันทึกโปรแกรมที่ท่านเลือกจากรายการโปรแกรมที่ปรากฏในส่วนนี้ โดยท่านจะต้องทำการเปิดโปรแกรมที่ต้องการไว้ก่อนระบบจึงจะแสดงให้ท่านเลือก
Frame Rate จะเป็นการเน้นความเสถียรของภาพ ให้มีความลื่นไหล (แนะนำให้เลือก Frame Rate)
Exposure จะเป็นการเน้นเรื่องความสว่างของภาพ
เป็นการกำหนดพื้นที่ที่จะทำการบันทึก โดยในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่นว่ามีตัวเลือกให้เลือกมากน้อยเพียงใด ดังตัวอย่างจะมีให้เลือก 3 องศาด้วยกัน ได้แก่ 65°, 78° และ 90° จะเห็นได้ว่า Field of view 78° นั้นยังแสดงให้เห็นส่วนฉากหลังที่ Green Screen ปิดไม่มิด ดังนั้น ตัวเลือกที่เหมาะสมคือ Field of view 65° ดังภาพด้านล่าง
อย่างไรก็ตาม การเลือก Field of view ที่ดีนั้นควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับสื่อของท่านเอง
เปิดเพื่อให้สื่อของท่านดูสมจริงและเป็นธรรมชาติมากขึ้น (แนะนำให้ปิดเนื่องจากอาจทำให้คอมพิวเตอร์ของท่านใช้ทรัพยากรมากเกินจำเป็นได้)
สามารถปรับกรอบภาพของท่านได้โดยการกด Zoom ซึ่งจะตัดกรอบภาพบริเวณโดยรอบของท่านออก ท่านสามารถปรับตำแหน่งเพิ่มเติมได้โดยการกดลูกศรบริเวณซ้ายมือ
การตั้งค่า Auto Focus แนะนำให้ทำการปิดฟังก์ชันนี้ไว้ เนื่องจากการ Auto Focus ในบางครั้งเมื่อหลุดโฟกัส ตัวกล้องจะพยายามจับโฟกัส ทำให้เกิดเป็นภาพเบลอ สลับกับภาพชัด สลับไปมาระหว่างบันทึกสื่อได้
ในส่วนนี้จะเป็นการปรับความสว่างของภาพ โดยเมื่อปรับไปฝั่งซ้ายภาพจะเป็นโทนสีฟ้า ฝั่งขวาจะเป็นโทนสีส้ม สามารถปรับได้ตามความเหมาะสม
เป็นการปรับในส่วนของปลายสัญญาณภาพ หรือ (ไม่ใช้การปรับที่ตัวกล้อง) สามารถปรับ Brightness, Contrast, Sharpness และ Saturationได้ แต่ไม่ควรปรับมากจนเกินไปแนะนำให้ปล่อยเป็นค่าเริ่มต้นไว้ หากปรับมากเกินไปจะทำให้ภาพที่ได้ไม่คมชัด และ ไม่เป็นธรรมชาติ
ความถี่ของไฟที่ใช้ในประเทศไทย แนะนำให้ใช้ 50 HZ เพื่อทำให้ภาพไม่สั่น
การกัดพื้นหลัง มีให้เลือก 2 สี ได้แก่ สีเขียว และ สีน้ำเงิน เมื่อเลือกสีเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการตั้งค่าส่วนของ Threshold และ Smoothness เพิ่มเติม เพื่อกัดพื้นหลังให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น
เมื่อตั้งค่า Chroma key เรียบร้อยจะได้ผลลัพธ์การกัดพื้นหลังดังภาพด้านล่าง
จะเป็นการตั้งค่ากลับภาพในแนวตั้ง หรือ Vertically Flip Source และ แนวนอน หรือ Horizontally Flip Source
ในส่วนนี้จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักเช่นเดียวกับการตั้งค่าแหล่งที่มาของสื่อแหล่งที่ 1 (Scene 1) ในข้อ 3 โดยสื่อที่ได้ทำการเลือกสื่อแหล่งที่ 1 (Scene 1) จะใช้เป็นกล้อง Logitech Cameras ดังนั้นการตั้งค่าแหล่งที่มาของสื่อแหล่งที่ 2 (Scene 2) จะเลือกเป็น Screen capture หรือ Window Capture ตามความต้องการของท่าน
Screen capture (เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการเปิดหลายโปรแกรม) ระบบจะบันทึกทุกโปรแกรมที่ท่านเปิดไว้ บนหน้าจอของท่าน ในกรณีที่ท่านมี 2 หน้าจอ จะมีตัวเลือกให้ท่านเลือก Display 1 และ Display 2 แต่หากท่านมีเพียง 1 หน้าจอท่านสามารถเลือก Display 1 ได้เลย
Window Capture (เหมาะสำหรับกรณีที่ต้องการเปิดโปรแกรมเดียว เช่น เปิด Power Point 1 โปรแกรม) ระบบจะบันทึกโปรแกรมที่ท่านเลือกจากรายการโปรแกรมที่ปรากฏในส่วนนี้ โดยท่านจะต้องทำการเปิดโปรแกรมที่ต้องการไว้ก่อนระบบจึงจะแสดงให้ท่านเลือก
แบ่งเป็นการตั้งค่าในส่วนย่อยต่างๆดังนี้
3.1 Watermark สามารถเปิดปิด Watermark หรือลายน้ำของ Logitech Capture ได้
3.2 Text Overlay การตั้งค่าข้อความ ให้ปรากฏบนจอของท่าน โดยท่านสามารถกำหนดข้อความ ระยะเวลาแสดงข้อความ ขนาด สีข้อความ และ พื้นหลังข้อความ ได้ เช่น เพิ่มข้อความที่แสดงหัวข้อหรือเรื่องที่จะทำการสอน เป็นต้น
3.3 Scene Effects ในส่วนนี้จะเป็นการแต่งภาพ แต่ไม่แนะนำให้เปิดเนื่องจากการทำสื่อการเรียนการสอนจะเน้นในเรื่องของความสมจริงเป็นหลัก และ อาจทำให้ความคมชัดของภาพลดลง
แบ่งเป็น 5 ส่วนหลัก ดังนี้ 1. Resolution 2. FPS 3. Video Encoder 4. Media Files Location และ 5. Advanced Setting
4.1 Resolution หรือความละเอียดในการแสดงผลภาพ คือส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ แบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
Landscape หรือการทำวิดิโอแบบแนวนอนซึ่งเป็นแบบที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายแพลตฟอร์ม
Portrait หรือการทำวิดิโอแนวตั้ง อาจจะใช้เพื่อเอาใจผู้บริโภคสมัยใหม่ที่บริโภคสื่อผ่าน Smart phone แต่ท่านอาจจะต้องปรับสื่อประกอบการเรียนการสอนของท่านให้มีแนวตั้งด้วย
Square หรือการทำวิดิโอในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ซึ่งความละเอียดที่แนะนำให้ใช้ คือแบบ Full HD เพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพสูง คมชัด ทั้งนี้การเลือก resolution จะขึ้นอยู่กับความสามารถของคอมพิเตอร์ของท่านด้วย ว่ามีความแรงเพียงพอที่จะใช้ความละเอียดสูงได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้วิดิโอของท่านกระตุก ไม่ลื่นไหลได้ ท่านอาจจะต้องลดความละเอียดลงเพื่อให้สามารถบันทึกได้ แต่ TLIC ไม่แนะนำให้ลดความละเอียดต่ำจนเกินไป เพราะจะทำให้สื่อของท่านนั้นไม่คมชัดและดูไม่เป็นมืออาชีพ
4.2 FPS (Frame per sec) หรือ การแสดงผลจำนวนภาพต่อ 1 วินาที ยิ่งวิดิโอที่บันทึกมีการเคลื่อนไหวที่เร็วมากเท่าไหร่ การมีจำนวนเฟรมต่อวินาทีมาก จะยิ่งทำให้การแสดงภาพมีความลื่นไหล หรือไม่กระตุกนั่นเอง แต่ในส่วนของการบันทึกสื่อการเรียนการสอนนั้น โดยในส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องเลือก FPS สูง เนื่องจากสื่อที่บันทึกนั้นไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่เร็วมาก โดยแนะนำให้เลือก FPS ที่ 25 หรือ 30 ก็เพียงพอแล้ว
4.3 Video Encoder หรือการเข้ารหัสวิดิโอ ในส่วนนี้ระบบจะทำการเลือกเองอัตโนมัติ
4.4 Media Files Location ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าพื้นที่เก็บไฟล์วิดิโอของท่าน โดยท่านสามารถเปลี่ยนสถานที่เก็บไฟล์ได้โดยการกด "Change" และเลือกตำแหน่งโฟลเดอร์หรือไดร้เวอร์ที่ท่านต้องการ รวมถึงท่านสามารถเปิดดูไฟล์ที่ท่านทำการบันทึกได้โดยการกด "Open" ระบบจะแสดงหน้าต่างโฟลเดอร์ที่ท่านทำการเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้
4.5 Advanced Setting จะเป็นการตั้งค่ากลับภาพบนล่าง และ ซ้ายขวา โดยแนะนำให้ทำการปิดไว้
ท่านสามารถเลือกไมโครโฟนที่ท่านต้องการได้ โดยระบบจะแสดงไมโครโฟนทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์ของท่านมี
ในกรณีที่ใช้ร่วมกับ CMU EZ Studio Controller version ที่ 3 ไม่จำเป็นต้องทำการตั้งค่าในส่วนนี้ สามารถเชื่อมต่อและใช้งานโดยกดปุ่มบนเครื่อง CMU EZ Studio Controller version ที่ 3 ได้ทันที
แต่ในส่วนของการใช้งานโดยไม่ใช้กล่อง CMU EZ Studio Controller หรือ ใช้งานร่วมกับ CMU EZ Studio Controller version 1 และ 2 ท่านจะต้องทำการตั้งค่าปุ่มลัดเพื่อช่วยให้การควบคุมสื่อของท่านดูราบรื่น ไม่สะดุด ซึ่งสามารถตั้งค่าโดยกดปุ่ม Alt พร้อมกับ ปุ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษตามที่กำหนด หรือ ท่านสามารถเปลี่ยนปุ่มลัดเองได้โดยการกดแก้ไข และ Alt พร้อมกับกดตัวอักษรที่ท่านต้องการ
ให้ท่านทำการ Log in หลังจากนั้นระบบจะแสดงเมนู Back up เพื่อทำการบันทึกการตั้งค่าทั้งหมดที่ท่านได้ทำการตั้งค่าไว้ใน Account ของท่าน
หากมีกล่อง CMU EZ Studio Controller สามารถเริ่มบันทึกด้วยการกดปุ่ม Record ที่กล่อง CMU EZ Studio Controller เพื่อเริ่มทำการบันทึกได้ทันที
ท่านสามารถกดปุ่มลัดที่ได้ทำการตั้งค่าไว้ (Alt + ตัวอักษรที่ท่านตั้งค่าไว้)
ใช้เม้าส์กดที่ปุ่ม Record บนโปรแกรม Logitech Capture
โดยเมื่อกดบันทึกแล้ว สถานะของปุ่ม บนโปรแกรม Logitech Capture นั้นจะเปลี่ยนจาก
โดยระหว่างการบันทึกนั้นหากท่านต้องควบคุมสื่อ Scene 1 และ Scene 2 ให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ท่านสามารถกดปุ่ม Source 1, Source 2, A, B, C และ D บนกล่อง CMU EZ Studio Controller ได้ หากท่านใดไม่มี กล่อง CMU EZ Studio Controller ท่านก็ยังสามารถใช้ปุ่มลัดบนแป้นพิมพ์ หรือ ใช้เม้าส์กดปุ่มต่างๆบนโปรแกรม Logitech Capture ได้
วิดิโอสอนการใช้งานเมนูโปรแกรม Logitech Capture มีทั้งหมด 3 Part ดังนี้
ท่านสามารถตั้งค่าความดังเบาของเสียงไมโครโฟนและลำโพงของท่านได้ โดยปรับปุ่มรูปไมโครโฟนและลำโพง บริเวณมุมขวาล่างของหน้าจอดังภาพ
เป็น