การสร้าง Event สำหรับคุมสอบ
การสร้าง Event เพื่อใช้ในการคุมสอบ
Last updated
การสร้าง Event เพื่อใช้ในการคุมสอบ
Last updated
การสร้าง Event เพื่อเปิดระบบติดตามสถานะการเข้าสอบของนักศึกษานั้น ท่านสามารถสร้างหลาย Event สำหรับหลายวิชาได้ โดยใน 1 Eventนั้น สามารถเลือกติดตามสถานะของ Quiz หรือแบบทดสอบเพียง 1 Quiz หรือ เลือกติดตามสถานะหลายแบบทดสอบหรือหลาย Quiz ใน 1 Event ได้ ซึ่งจะมีรายละเอียดการเลือกในหัวข้อถัดไป
ในกรณีที่มีอาจารย์ร่วมสอนท่านอื่นๆต้องการติดตามสถานะการสอบของนักศึกษาด้วย ท่านสามารถเพิ่มผู้ดูแลเพื่อช่วยคุมสอบใน Event เดียวกันได้ หรือ อาจารย์แต่ละท่านจะสร้าง Event แยกกัน เพื่อติดตามสถานะจากหน้า Online Exam Manager ของตัวเองก็สามารถทำได้เช่นกัน
รายละเอียดวิธีการสร้าง Event สามารถดูได้จากเนื้อหาด้านล่าง
ท่านสามารถสร้าง Event ได้จาก 2 ส่วน ได้แก่
กดปุ่มสีน้ำเงิน "เริ่มสร้าง Event เพื่อคุมสอบ" ตามภาพดังล่าง
กดปุ่ม "Create New" บริเวณแถบเครื่องมือด้านบน ดังภาพประกอบด้านล่างนี้
เมื่อคลิกแล้วจะปรากฏหน้าต่างแบบฟอร์มสำหรับการสร้าง Event 9 ส่วน ดังรูป ท่านสามารถกด Continue เพื่อไปยังหัวข้อถัดไปหรือกด Back เพื่อกลับมายังส่วนก่อนหน้าได้
แต่ละส่วนมีรายละเอียดที่ท่านต้องกรอกข้อมูลดังนี้
1.ชื่อ Event คือ ชื่อที่ใช้สำหรับ Event นั้นๆซึ่งไม่เกี่ยวกับกระบวนวิชาในสำนักทะเบียน แต่อาจารย์สามารถตั้งชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนวิชาหรือหัวข้อที่ใช้ในการสอบ โดยต้องมีความยาวมากกว่า 4 ตัวอักษรขึ้นไป
เมื่อตั้งชื่อเรียบร้อยแล้วให้ท่านกดปุ่ม Continue เพื่อไปยังข้อถัดไป
เลือกระบบการเรียนการสอนที่ท่านใช้ในการสอบครั้งนี้ และกด Continue
ระบบจะแสดง Drop Down List ให้ท่านเลือกกระบวนวิชาที่ท่านจะใช้ในการติดตามสถานการสอบในครั้งนี้ โดยจะแสดงกระบวนวิชาทั้งหมดที่ท่านมีในระบบที่ท่านเลือก เมื่อท่านเลือกวิชาเรียบร้อยแล้วให้ไปยังขั้นตอนถัดไปเพื่อเลือกแบบทดสอบหรือ Quiz/Assignment ในคอร์สของท่าน
คอร์สของท่านจะต้องมีสถานะเป็น Visible ในกรณีที่ท่านซ่อนคอร์สไว้ระบบจะค้นหาคอร์สไม่พบ
ท่านสามารถเลือก Quiz หรือ Assignment ที่ท่านต้องการได้โดยการกดเลือกที่ช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้าชื่อ ดังภาพประกอบด้านล่าง
โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะติดตามสถานะการทำข้อสอบของ Quiz หรือ Assignment ไหน ในคอร์สของท่านบ้าง
คอร์สของท่านจะต้องมีสถานะเป็น Visible ในกรณีที่ท่านซ่อนคอร์สไว้ระบบจะค้นหาคอร์สไม่พบ
อย่างไรก็ตามระบบจะค้นหา Quiz ของท่านพบแม้ว่า Quiz จะถูกซ่อนอยู่ก็ตาม
ส่วนนี้เป็นส่วนเพิ่มเติม สำหรับเลือกติดตามสถานะของนักศึกษาเพียงบางกลุ่ม ท่านสามารถกดข้าม ไปยังขั้นตอนถัดไปได้ หากกระบวนวิชาของท่านไม่ได้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษา โดยระบบจะนำเข้านักศึกษาทั้งหมดในคอร์สของท่าน เพื่อติดตามสถานะนักศึกษาทั้งหมด
หรือ ท่านสามารถเลือกนำเข้าเฉพาะบาง Section ที่ท่านทำการแยกไว้ในคอร์สของท่านได้ เช่น ต้องการติดตามสถานะเฉพาะของนักศึกษา Section 001 ให้ทำการเลือกเฉพาะ Section 1 เป็นต้น
กรณีที่หน้าจอแสดงผลเป็น Student Group Not found ดังภาพประกอบด้านล่าง หมายถึง กระบวนวิชาของท่านไม่มีการแบ่งกลุ่ม หรือ แบ่ง Section ของนักศึกษา ระบบจึงไม่พบกลุ่มนักศึกษาของท่านนั่นเอง
ท่านสามารถกด Continue เพื่อยังขั้นตอนถัดไป
ท่านสามารถเปิดใช้งานส่วนนี้เพื่อใช้ตรวจขสอบตำแหน่งหรือพิกัดของผู้เข้าสอบได้
คือ กรอกลิงค์ Zoom Invite link ที่ได้มาจากการสร้าง Zoom Meeting ที่ผู้ใช้งานต้องการที่จะใช้ในการคุมสอบและดูค่าสถานะการเข้าร่วม Zoom ของนักศึกษา ในส่วนนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปิดหรือปิดฟังก์ชั่นนี้ด้วยตนเอง โดยระบบจะติดตามการเข้าใช้ Zoom ได้เมื่อท่านเปิดใช้ตัวเลือกบังคับให้ผู้เข้าร่วมประชุม login ด้วย CMU Account
โดยจะมีรูปแบบ เช่น https://cmu-th.zoom.us/j/9445095480 ท่านสามารถดูวิธีการนำ Link ในส่วนนี้มากรอกใหเถูกต้องได้ที่หัวข้อ วิธีการสร้าง Link Zoom
ท่านสามารถกำหนดวัน และ เวลาสอบได้ที่นี่ โดยเมื่อท่านกำหนดเวลาเริ่มแล้วระบบจะกำหนดเวลาสิ้นสุดโดยบวกเพิ่ม 3 ชะ้วโมง (นับจากเวลาเริ่ม)โดยอัตโนมัติ เช่น ตั้งเวลาเริ่มที่ 09.00 น. ระบบจะกรอกเวลาสิ้นสุดให้ท่าน 12.00 น. อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามท่านสามารถปรับแก้ไขเวลาเองได้เช่นกัน
ท่านสามารถกำหนดช่วงเวลากว้างกว่าเวลาที่ท่านใช้สอบจริงเพื่อป้องกันเกหตหุสุดวิสัยต่างๆ ได้ เช่นสอบเวลา 09.00 - 11.00 น. ท่านสามารถกำหนดเวลา 08.00 - 12.00 น. ได้ เป็นต้น
ในส่วนการตั้งค่าเวลานี้ นักศึกษาจะสามารถ Check-in ได้ 30 นาทีก่อนเวลาที่ระบุนี้ (แก้ไขได้ภายหลังจาก settings)
ข้อมูลการติดต่อกรณีฉุกเฉิน ท่านสามารถเลือกกรอกข้อมูลหรือไม่กรอกก็ได้ โดยในส่วนนี้จะนำไปแสดงให้กับนักศึกษาเพื่อใช้ในการติดต่ออาจารย์ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องฉุกเฉินต่างๆ
ระบบจะแสดงสถานะเสร็จสิ้น ดังภาพด้านล่าง
หลังจากสร้าง Event เสร็จเรียบร้อยแล้วผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบความถูกต้องต่างๆของ Event ที่ถูกสร้างโดยการกดเข้าชม Event ซึ่งจะปรากฎรายละเอียดของ Event ดังรูป
หลังจากสร้าง Event เรียบร้อยแล้วระบบจะมีการนำเข้ารายชื่อนักศึกษาซึ่งจะใช้เวลาแตกต่างกันตามจำนวนของนักศึกษาในรายวิชานั้นๆ หากจำนวนนักศึกษาไม่ครบ ให้ท่านติดต่อทีมงานทันทีเพื่อทำการตรวจสอบรายชื่อให้ท่าน