Quizzes

การสร้าง Quizzes หรือสร้างแบบทดสอบ เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษาสามารถสร้างได้กว่า 12 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น แบบปรนัย อัตนัย เติมคำ จับคู่ ถูกผิดเป็นต้น พร้อมทั้งสามารถตั้งค่าเงื่อนไขต่างๆได้ตามต้องการ

เริ่มต้นการใช้งานเมนู Quizzes

เมนู Quizzes เป็นเมนูที่ใช้สำหรับการสร้างข้อสอบ หรือ คำถามในรูปแบบต่างๆ ซึ่งระบบ CMU Canvas นี้ รองรับคำถามทั้งหมด 12 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงวิธีการสร้างคำถามในแต่ละรูปแบบในภายหลัง สิ่งที่ท่านจำเป็นจะต้องรู้ก่อนสร้าง Quizzes มี 3 เรื่องหลักได้แก่

  1. การสร้างรายละเอียด Quiz แบ่งเป็น 5 เรื่องย่อยได้แก่

    1. การตั้งชื่อ Quiz และรายละเอียดของ Quiz

    2. กำหนด Quiz Type และ Assignment Group

    3. กำหนด Options

    4. กำหนด Quiz Restriction

    5. การตั้งค่า Due date

  2. ส่วนประกอบในการสร้างคำถาม แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่

    1. ส่วนของคำถาม

    2. ส่วนของคำตอบ

  3. การสร้างคำถาม 12 รูปแบบ ได้แก่

    1. Essay Question

    2. File Upload Question

    3. Fill In The Blank

    4. Fill In Multiple Blanks

    5. Formula Question

    6. Matching

    7. Multiple Answers

    8. Multiple Choice

    9. Multiple Dropdowns

    10. Numerical Answer

    11. Text (No Question)

    12. True/False

ขั้นตอนแรกให้ท่านไปที่เมนู Quizzes จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

1. การสร้างรายละเอียด Quiz

1.1 ตั้งชื่อ Quiz และ รายละเอียดของ Quiz

1.2 กำหนด Quiz type และ Assignment Group

Quiz type หรือ ประเภทของ Quiz แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

Practice Quiz : แบบทดสอบหรือทดลองสอบ

Graded Quiz : แบบทดสอบแบบเก็บคะแนน

Grade Survey : แบบสอบถามแบบเก็บคะแนน

Ungraded Survey : แบบสอบถามแบบไม่คิดคะแนน

Assignment Group หรือ กลุ่มที่ได้รับมอบหมาย

ในส่วนนี้จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ตามที่ท่านได้ทำการแบ่งกลุ่มไว้ หรือ ท่านสามารถเลือกที่จะมอบหมายให้กับนักศึกษาทุกท่านที่อยู่ใน Course ได้

1.3 กำหนด Options หรือ ตัวเลือกเพิ่มเติม

ในส่วนนี้แบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อยได้แก่

Shuffle Answers หรือ การสลับคำตอบ

หากท่านต้องการสลับตำแหน่งของคำตอบของท่าน ท่านสามารถกดเลือกเมนูนี้

Time Limit หรือ การจำกัดเวลาในการทำ Quiz

ท่านสามารถจำกัดเวลาในการทำ Quiz นี้ได้ โดยการกดที่เมนูนี้และระบุเวลา (หน่วยเป็นนาที)

Allowed Multiple Attempts หรือ อนุญาตให้มีการทำข้อสอบ และ ส่งคำตอบหลายครั้ง

เมนู Quiz Score to Keep สามารถเลือกได้ว่าจะเลือกใช้คะแนนครั้งไหนในการเก็บคะแนน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเลือกคะแนนที่ทำได้สูงสุด(Highest) ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมทุกครั้งที่ทำได้(Average) หรือยึดคะแนนการทำข้อสอบครั้งล่าสุด(Latest)

เมนู Allowed Attempts หรืออนุญาตให้มีการทำข้อสอบหลายครั้ง โดยสามารถกำหนดจำนวนครั้งได้ว่าสามารถเข้ามาทำ Quiz นี้ได้กี่ครั้ง

Let Students See Their Quiz Responses หรือ การแสดงเฉลยคำตอบข้อที่ถูกต้องให้แก่นักศึกษา

ในส่วนนี้ท่านจะต้องเพิ่ม ข้อมูล feedback ในคำตอบแต่ละข้อของท่านด้วย โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะแสดง Quiz Responses ในช่วงใด

1.4 Quiz Restrictions หรือการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าทำ Quiz

แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

Require an access code หรือ การกำหนด Password ในการเข้าทำ Quiz

Filter IP Addresses หรือ การกรอง IP Address

1.5 การตั้งค่า Due Date หรือกำหนดส่งงาน

สามารถกำหนดได้ว่าจะมอบหมาย Quiz นี้ให้แก่นักศึกษากลุ่มใดบ้าง การตั้งค่ากำหนดส่งงาน และ การตั้งค่ากำหนดการเปิดปิดส่วนของ Quiz

Assign to

ท่านสามารถกำหนดได้ว่า Quiz ที่ท่านได้ทำการสร้างนี้จะมอบหมายให้ใครทำได้บ้าง สามารถมอบหมายให้กลุ่มต่างๆที่ท่านได้ทำการแบ่งไว้ หรือ มอบหมายให้แก่นักศึกาาทั้งหมดภายใน Course เป็นต้น

Due Date หรือกำหนดส่งงาน

ท่านสามารถกำหนดวันส่งงานหรือ Due Date ได้ โดยการเลือกวันและเวลา ที่ท่านต้องการ

Available Date หรือ วันเวลาที่เปิดให้เข้าดูรายละเอียด Quiz

ท่านสามารถกำหนดวันเวลาที่นักศึกษาจะสามารถเข้าดู ในส่วนของรายละเอียด Quiz ได้ที่เมนูนี้

2. ส่วนประกอบในการสร้างคำถามใน Quiz

ท่านสามารถสร้างคำถามใน Quiz ได้โดยไปที่เมนู Questions เพื่อสร้างข้อคำถาม จากนั้นกดปุ่ม "New Question"

เมื่อกดปุ่ม "New Question"แล้ว จะเข้าสู่หน้าของการสร้างคำถามในแต่ละข้อ ซึ่งจะมีแถบเครื่องมือที่สำคัญดังนี้

2.1 ส่วนของคำถาม

ชื่อคำถาม : ในส่วนนี้สามารถตั้งงชื่อคำถามเพื่อให้อาจารย์สามารถรู้ได้ว่าเป็นคำถามเกี่ยวกับอะไร ส่วนนี้จะไม่ปรากฏในหน้าแสดงผล (อาจารย์หรือผู้สร้างคำถามเท่านั้นที่จะมองเห็นส่วนนี้)

ประเภทหรือรูปแบบของคำถาม : สามารถกำหนดประเภทหรือรูปแบบของคำถามได้ ไม่ว่าจะเป็น Multiple Choice, True/False, Fill in the blank, Fill in Multiple Blanks, Multiple Answers, Multiple Dropdowns, Matching, Numerical Answer, Formula Question, Essay Question, File Upload, และ Question Text (No Question) ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนถัดไป

คะแนนของคำถามข้อนี้ : ท่านสามารถกำหนดคะแนนของคำถามข้อนี้ได้โดยการแก้ไขตัวเลขบริเวณช่องว่างด้านขวามือ (ช่อง pts:)

เนื้อหาของคำถาม : ท่านสามารถกรอกเนื้อหาของคำถามได้ในบริเวณกล่องข้อความด้านล่าง โดยสามารถเน้นข้อความให้เป็นตัวหนา ไฮไลท์ข้อความ ใส่สัญลักษณ์พิเศษทางวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แทรกรูปภาพ หรือแทรกสื่อต่างๆได้อีกด้วย

2.2 ส่วนของคำตอบ (ตัวเลือก)

ในส่วนนี้ จำนวนคำตอบจะเปลี่ยนไปตามประเภทหรือรูปแบบของคำถามที่ท่านเลือกด้านบน ท่านสามารถเพิ่มหรือลดตัวเลือกได้ตามต้องการ นอกจากนี้ท่านยังสามารถใส่ความคิดเห็น หรืออธิบายเหตุผลของตัวเลือกต่างๆ หรือเฉลยคำตอบที่ถูกต้องพร้อมทั้งอธิบายข้อมูล โดยการเพิ่ม Comment ในแต่ละตัวเลือกได้อีกด้วย

ท่านสามารถเปลี่ยนเฉลยข้อที่ถูก

3. การสร้างคำถาม 12 รูปแบบ

การสร้างคำถามมีทั้งหมด 12 รูปแบบดังภาพ (โดยในแต่ละรูปแบบนั้นจะมีวิธีการสร้างที่แตกต่างกัน)

เมื่อสร้างคำถามเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถกด Show Question Details เพื่อดูรายละเอียดคำถามและตัวเลือกของคำถามข้อนั้นโดยไม่ต้องกด Preview ได้

3.1 Essay Question

การสร้าง Essay Question จะมีลักษณะของการถามคำถามแก่นักศึกษา และ มีกล่องข้อความสำหรับการตอบคำถามแบบเรียงความหรือข้อความที่มีความยาวค่อนข้างมาก

หน้าสร้างคำถามแบบ Essay Question

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Essay Question เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Essay Question (ภาพเคลื่อนไหว)

3.2 File Upload Question

การตอบคำถามโดยให้ส่งเป็นไฟล์เข้าสู่ระบบ CMU Canvas โดยการใช้รูปแบบคำถาม File Upload Question ใน Quizzes จะไม่สามารถตั้งค่าส่วนอื่นๆพิ่มเติมได้ โดยตั้งค่าได้เพียงหัวข้อคำถามและรายละเอียดคำถามเท่านั้น ซึ่งจะค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับ เมนู Assignment ที่สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมทั้งในส่วนของ การจำกัดนามสกุลไฟล์ หรือ จำนวนครั้งในการส่งไฟล์งาน เป็นต้น

หน้าสร้างคำถามแบบ File Upload Question

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ File Upload Question เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ File Upload Question (ภาพเคลื่อนไหว)

3.3 Fill In The Blank

Fill In The Blank หรือ การเติมคำตอบลงในช่องว่าง 1 ตำแหน่งให้ถูกต้อง เมื่อท่านสร้างคำถามในรูปแบบ Fill In The Blank ระบบจะแสดงกล่องข้อความสั้นๆ ต่อท้ายคำถามของท่าน เพื่อให้นักศึกษาพิมพ์คำตอบ

หน้าสร้างคำถามแบบ Fill In The Blank

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Fill In The Blank เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Fill In The Blank (ภาพเคลื่อนไหว)

3.4 Fill In Multiple Blanks

Fill In Multiple Blanks หรือ การเติมคำตอบลงในช่องว่างแต่ละส่วนให้ถูกต้อง (เติมคำตอบลงในหลายช่องว่าง) สามารถกำหนดส่วนที่ต้องการให้นักศึกษาเติมคำได้โดยการใส่เครื่องหมาย [ ] และ กรอกคำตอบถูกต้องตามตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง

ตัวอย่าง : เสียน้อยเสียมาก เสียยากเสียง่าย เปลี่ยนคำที่ต้องการในนักศึกษาเติมในช่องว่างเป็นสัญลักษณ์ [ ] จะได้เป็น เสีย [1] เสีย [2] เสีย [3] เสีย [3] เมื่อแสดงผล ส่วนที่อยู่ใน [ ] จะกลายเป็นช่องว่าง

การตั้งค่าคำตอบ : พิมพ์คำตอบลงในช่องว่างด้านล่างตามตำแหน่งที่ได้สร้างไว้ หมายเลข 1 คำตอบคือ น้อย หมายเลข 2 คำตอบคือ มาก หมายเลข 3 คำตอบคือ ยาก และ หมายเลข 4 คำตอบคือง่าย ดังภาพด้านล่าง

หน้าสร้างคำถามแบบ Fill In Multiple Blanks

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Fill In Multiple Blanks เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Fill In Multiple Blanks (ภาพเคลื่อนไหว)

3.5 Formula Question

การสร้างคำถามแบบ Formula Question นี้ สามารถสุ่มตัวเลขของตัวแปรได้ ทำให้นักศึกษาแต่ละคนได้รับ คำถามที่ไม่เหมือนกันและมีการคำนวณคำตอบที่ไม่เหมือนกัน แต่จะมีการตั้งค่าที่ค่อนข้างซับซ้อน แบ่งเป็นส่วนของการตั้งค่าคำถาม 1 หัวข้อ และการตั้งค่าคำตอบ 3 หัวข้อย่อยดังนี้

การตั้งค่าคำถาม Formula Question

ในการตั้งค่าคำถามนั้น ท่านสามารถกำหนดตัวแปรที่ต้องการสร้างแบบสุ่มได้โดยการใส่วงเล็บปีกกาและตัวx [x]

ตัวอย่าง : คำสั่ง จงหาค่า y เมื่อ x = [x] โจทย์ 5(x) + 12 = y

หรือ ท่านสามารถกำหนดตัวแปรในโจทย์ได้เลย เช่น 5([x]) + 12 = ?

การตั้งค่าคำตอบ Formula Question

ส่วน Variable Definitions หรือ กำหนดช่วงตัวแปร

ตัวแปร x ที่ท่านกำหนดไว้ สามารถกำหนดค่าน้อยที่สุดและมากที่สุดได้ เมื่อกำหนดแล้วให้กด Recompute เพื่อทำการสุ่มเลขตัวแปรสำหรับใช้ในการกำหนดสูตรในขั้นตอนที่ 2

ส่วน Formula Definition หรือการกำหนดสูตร

นำสูตรของท่านมากรอกในส่วนนี้เพื่อให้ระบบเข้าใจว่าท่านต้องการคำนวณโดยใช้หลักเกณฑ์ใด

  • เครื่องหมาย + แทนการบวก

  • เครื่องหมาย - แทนการลบ

  • เครื่องหมาย * แทนการคูณ

  • เครื่องหมาย / แทนการหาร

ตัวอย่าง ตัวเลขที่สุ่มจากข้อ 1 คือ เลข 9 เมื่อนำ 9 ไปแทน X คำตอบที่ได้จะเท่ากับ 57 ดังภาพ

ส่วน Generate Possible Solutions หรือส่วนของการสร้างคำตอบตามค่าที่กำหนดใน 2 ขั้นตอนแรก

ในส่วนนี้จะมีให้ท่านระบุจำนวนของคำตอบ โดยสามารถสุ่ม ตัวแปรและคำตอบของแต่ละตัวแปรได้จำกัดที่จำนวน 200 คำตอบ เมื่อท่านกรอกเลขเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านกด Generate เพื่อให้ระบบทำการสร้างคำตอบออกมาตามรายละเอียดด้านล่าง

จากโจทย์ 5([x]) + 12 = y หาก x = 7 หรือ 5(7) + 12 = ? คำตอบที่ได้จะเท่ากับ 47 เป็นต้น

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Formula Question เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Formula Question (ภาพเคลื่อนไหว)

ข้อมูลการตั้งค่าเพิ่มเติม : https://s3.amazonaws.com/tr-learncanvas/docs/CanvasFormulaQuizQuestionHelperFunctions.pdf

3.6 Matching

การสร้างคำถามแบบ Matching หรือ การจับคู่คำตอบที่ถูกต้อง ท่านสามารถสร้างคู่คำถามกี่คู่ก็ได้ ซึ่งวิธีการสร้างคำถามแบบจับคู่จะไม่มีตัวเลือกหลอกหรือตัวเลือกที่เกินออกมา จะมีคู่คำถามคำตอบที่ครบคู่กันเท่านั้น

หน้าสร้างคำถามแบบ Matching

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Matching เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Matching (ภาพเคลื่อนไหว)

3.7 Multiple Answers

การสร้างคำถาม ที่มีคำตอบที่ถูกต้องหลายคำตอบ หรือ แบบ Multiple Answers นั้น เมื่อคำถามถูกสร้างแล้ว จะมีลักษณะเป็นกล่องให้ท่านสามารถเลือกตัวเลือกได้หลายตัวเลือก โดยท่านสามารถกำหนดข้อที่ถูกต้องและข้อที่ผิดจำนวนกี่ข้อก็ได้

หน้าสร้างคำถามแบบ Multiple Answers

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Multiple Answers เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Multiple Answers (ภาพเคลื่อนไหว)

3.8 Multiple Choice

วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ในการสร้างตัวเลือกหลายตัวเลือก แต่บังคับให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว ทั้งนี้ท่านยังสามารถอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเลือกในแต่ละข้อได้อีกด้วย

หน้าสร้างคำถามแบบ Multiple Choice

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Multiple Choice เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Multiple Choice (ภาพเคลื่อนไหว)

3.9 Multiple Dropdowns

การเลือกตัวเลือกจากรายการตัวเลือกแบบลากลงมา ในส่วนนี้จะมีรูปแบบที่คล้ายกับการสร้างคำถามแบบ Multiple Choice และ Fill In Multiple Blanks แต่ละมีวิธีการสร้างคำตอบที่แตกต่างกันคือ

คำถามแบบ Multiple Dropdowns จะสามารถเพิ่มตัวเลือกคำตอบได้หลายตัวเลือก เช่น

คำถาม : สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง แปลงคำถามเป็น สี่ตีนยัง[1] นักปราชญ์ยัง[2]

คำตอบ : หมายเลขที่ 1 คำตอบคือ รู้พลาด ท่านสามารถเพิ่มตัวเลือกอื่นๆเพิ่มเติมได้ในช่องถัดไป ดังตัวอย่าง เพิ่มตัวเลือกที่ 2 คือ ฉลาด เพิ่มตัวเลือกที่ 3 คือ รู้ลาด เป็นต้น

หมายเลขที่ 2 คำตอบคือ รู้พลั้ง ท่านสามารถเพิ่มตัวเลือกอื่นๆเพิ่มเติมได้ในช่องถัดไป ดังตัวอย่าง เพิ่มตัวเลือกที่ 2 คือ รู้พลัง เพิ่มตัวเลือกที่ 3 คือ รู้หรือยัง เป็นต้น

หน้าสร้างคำถามแบบ Multiple Dropdowns

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Multiple Dropdowns เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Multiple Dropdowns (ภาพเคลื่อนไหว)

3.10 Numerical Answer

การสร้าง Numerical Answer หรือ การตอบด้วยตัวเลข ในส่วนนี้จะมีกล่องข้อความให้นักศึกษาตอบคำตอบโดยจะสามารถตอบได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น

การสร้างคำถามแบบ Numerical Answer นี้ สามารถกำหนดค่าคำตอบได้ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่

  1. Exact Answer : หรือคำตอบหลักที่คำนวณได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถกำหนดทศนิยมได้ว่าสามารถคลาด-เคลื่อนได้มากน้อยเพียงใด

  2. Answer in the Range : คำตอบที่อยู่ในช่วง โดยจะมีค่าให้กำหนดระหว่าง ค่าที่1 ไปจนถึง ค่าที่2

  3. Answer with Precision : หรือคำตอบที่แม่นยำ โดยแนะนำให้ใช้คำตอบหลักแบบ Exact Answer

หน้าสร้างคำถามแบบ Numerical Answer

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Numerical Answer เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

เมื่อตอบด้วยตัวอักษร ระบบจะแสดงข้อความว่า "Only numerical values are accepted" หรือ สามารถตอบได้เฉพาะตัวเลขเท่านั้น

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Numerical Answer (ภาพเคลื่อนไหว)

3.11 Text (No Question)

การสร้าง Text หรือข้อความที่ไม่ใช่คำถามจะไม่ถูกคิดคะแนน ในส่วนของ Text (No Question) นี้ จะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงข้อความเท่านั้น โดยอาจารย์สามารถใช้เพื่อ

  1. ใช้แบ่งส่วนของคำถามและอธิบายรายละเอียดได้ เช่น ต่อไปนี้จะเป็นคำถามเกี่ยวกับการคำนวณให้นักศึกษาตอบโดยใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง เป็นต้น

  2. ใช้เพื่อเตือนนักศึกษา เช่น โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตอบครบทุกข้อแล้ว หรือตั้งแต่ข้อนี้เป็นต้นไปจะเก็บคะแนนข้อละ 3 คะแนน เป็นต้น

  3. ใช้เพื่อแสดงการให้กำลังใจนักศึกษา เช่น ข้อความขอให้นักศึกษาทุกคนโชคดีในการสอบ หรือการแนบรูปภาพเป็นต้น

หน้าสร้างคำถามแบบ Text (No Question)

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ Text (No Question) เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ Text (No Question) (ภาพเคลื่อนไหว)

ส่วนแจ้งข้อมูลให้แก่นักศึกษา ได้แก่ การอวยพรปิดท้ายในส่วนของคำถามข้อสุดท้าย หรือย้ำเตือนห้ามมิให้ทำการทุจริต หรือแจ้งเตือนข้อควรระวังต่างๆ เช่น อย่าลืมทำให้ครบทุกข้อ เป็นต้น

3.12 True/False

การตั้งข้อคำถามเพื่อให้เลือกตอบแบบถูกหรือผิด เมื่อท่านเลือกรูปแบบคำถามนี้ คำตอบจะมีให้เลือกเพียง 2 ตัวเลือกเท่านั้น คือถูกหรือผิด โดยท่านสามารถอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่าเพราะเหตุใดข้อคำถามนี้จึงถูก หรือเพราะเหตุใดข้อคำถามนี้จึงผิด

หน้าสร้างคำถามแบบ True/False

หน้าแสดงผลเมื่อสร้างคำถามแบบ True/False เรียบร้อยแล้ว (สิ่งที่นักศึกษาเห็น)

วิธีการสร้าง Quiz แบบ True/False (ภาพเคลื่อนไหว)

การ Preview เพื่อดูตัวอย่าง Quiz

ตำแหน่งในการ Preview เพื่อดูตัวอย่าง Quiz

ท่านสามารถกดที่คำว่า Preview ได้จาก 2 ตำแหน่ง ดังภาพ

  1. บริเวณปุ่มสีเทาด้านบน

  2. บริเวณปุ่มสีม่วงด้านล่าง ตรงกลางหน้าจอ

การ Preview เพื่อดูตัวอย่าง Quiz(ภาพเคลื่อนไหว)

Last updated