การตั้งค่าแบบทดสอบ (Quiz Settings)
Last updated
Last updated
แบ่งเป็นการตั้งค่าแบบเปิดโหมดแก้ไข (Turn Editing On) และแบบปิดโหมดแก้ไข (Turn Editing Off)
1.แก้ไขชื่อ Quiz แบบรวดเร็ว
ไปที่ Quiz ที่ท่านต้องการ
กดเครื่องหมายแก้ไขบริเวณหลังชื่อ Quiz ของท่าน
แก้ไขชื่อ Quiz ของท่านได้ตามต้องการ
กด Enter ระบบจะบันทึกข้อมูลของท่านทันที
2.แก้ไขโดยไปที่เมนู
ไปที่ปุ่ม Edit
เลือกเมนู Edit Setting
แก้ไขชื่อ Quiz ของท่านที่ช่อง Name และกดบันทึก
ไปที่ Quiz ที่ท่านต้องการ และ กดเข้าไปที่ Quiz นั้น
ไปที่เครื่องหมายฟันเฟือง
เลือกเมนู Edit Setting
แก้ไขชื่อ Quiz ของท่านที่ช่อง Name และกดบันทึก
ท่านสามารถเปิดใช้งานการแสดงส่วนเนื้อหาคอร์สในหน้าเพจของท่าน ที่เมนู Display description on course page
วันแรกที่สามารถเข้าทำแบบทดสอบได้ (Open the quiz) – การกำหนดเวลาเพื่อเข้าถึงแบบทดสอบ นักศึกษาจะไม่สามารถเข้าทำแบบทดสอบได้หากยังไม่ถึงเวลาที่กำหนด แต่จะสามารถเข้ามาอ่านรายละเอียดหรือหน้าแรกของแบบทดสอบก่อนได้ โดยวันเปิด-ปิด ของแบบทดสอบจะแสดงให้นักศึกษาเห็นผ่านทางหน้าแรกของแบบทดสอบ
เปิดฟังก์ชั่นนี้โดยการ Turn On ตรงปุ่ม Enable หากปุ่ม Enable ปิดอยู่ หมายความว่า Quiz นี้จะไม่มีการกำหนดวันเปิด นักศึกษาสามารถเห็นแบบทดสอบนี้และเข้าไปทำ Quiz หรือแบบทดสอบได้ตลอดเวลา
วันสุดท้ายที่อนุญาตให้ทำแบบทดสอบ (Close the quiz) – หลังจากปิดการทำแบบทดสอบนักศึกษาจะไม่สามารถเริ่มต้นการทดสอบใหม่ได้ คำตอบที่นักเรียนส่งหลังจากวันปิดจะไม่ถูกนับคะแนน แม้ว่าแบบทดสอบจะถูกปิดลงนักศึกษาจะยังสามารถเข้าดูรายละเอียดแบบทดสอบและทบทวนคำตอบได้ โดยสิ่งที่นักศึกษาสามารถมองเห็นจะขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่ผู้สอนได้เลือกไว้
เปิดฟังก์ชั่นนี้โดยการ Turn On ตรงปุ่ม Enable หากปุ่ม Enable ปิดอยู่ หมายความว่า Quiz นี้ จะไม่มีการกำหนดวันปิดไว้ นักศึกษาสามารถเห็นแบบทดสอบนี้และเข้าไปทำ Quiz หรือแบบทดสอบได้ตลอดเวลา
การจำกัดเวลาในการทำข้อสอบ (Time limit) – โดยค่าเริ่มต้นของแบบทดสอบจะไม่ได้มีการจำกัดเวลา ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีเวลามากพอที่ต้องทำแบบทดสอบ หากผู้สอนจำกัดเวลาในการทำแบบทดสอบสามารถเปิดใช้งานเมนูนี้ได้ โดยมีหน่วยของเวลาให้เลือกตั้งค่า ตั้งแต่หน่วยวินาที, นาที, ชั่วโมง, วัน และสัปดาห์
เปิดฟังก์ชั่นนี้โดยการ Turn On ตรงปุ่ม Enable หากปุ่ม Enable ปิดอยู่ หมายความว่า Quiz นี้ จะไม่มีเวลาจำกัดในการทำ นักศึกษาสามารถทำได้ตามเวลาเปิดปิดแบบทดสอบ
เมื่อหมดเวลา (When time expires..) – มีสามทางเลือกเมื่อเวลาในการทำข้อสอบหรือ Quiz นี้หมด ผู้สอนสามารถเลือกรายการที่ต้องการจากเมนู dropdown menu ดังนี้
Open attempts are submitted automatically : แบบทดสอบที่ทำอยู่จะถูกส่งโดยอัตโนมัติเมื่อหมดเวลา แม้ว่าจะทำทันหรือไม่ทันก็ตาม(ค่าเริ่มต้นของระบบ) ช่วยป้องกันการที่นักศึกษาทำเสร็จแล้วและไม่ได้กดส่งทำให้ไม่มีคะแนนในระบบ
There is a grace period when open attempts can be summited, but no more questions answered : นักศึกษาสามารถส่งคำตอบหลังเวลาแบบทดสอบหมดได้ในช่วงเวลาผ่อนผันเพิ่มเติมที่กำหนด แต่ไม่สามารถทำแบบทดสอบเพิ่มได้ จะสามารถกดส่งคำตอบที่ยังไม่ได้กดส่งได้เท่านั้น โดนสามารถกำหนดช่วงเวลาได้เมื่อ Turn On ตรงปุ่ม Enable บริเวณ Submission grace period
Attempts must be submitted before time expires, or they are not counted : นักศึกษาต้องส่งคำตอบก่อนเวลาแบบทดสอบจะหมดลง ไม่เช่นนั้นคำตอบของนักศึกษาจะไม่ถูกนับและไม่แสดงคำตอบในหน้า grade
หรือการกำหนดหมวดหมู่ของคะแนน
กำหนดเกณฑ์การผ่านแบบทดสอบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับ “Activity completion” หรือนำไปเป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย
ผู้สอนสามารถปรับจำนวนครั้งที่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าทำข้อสอบได้ โดยมีตั้งแต่ 1-10 ครั้ง และแบบ Unlimited หรือสามารถเข้าทำกี่ครั้งก็ได้
หรือวิธีตัดเกรด ผู้สอนสามารถใช้วิธีต่างๆเพื่อคำนวณหาคะแนนสุดท้ายของนักศึกษาในการทำแบบทดสอบได้ เมื่อจำนวนการตอบทำได้หลายครั้ง โดยแบ่งเป็น Highest grade หรือคะแนนสูงสุดที่ทำได้ , Average Grade ผลคะแนนเฉลี่ยรวมทุกครั้งที่ทำแบบทดสอบ , First attempt คะแนนการทำแบบทดสอบครั้งแรก และ Last attempt คะแนนการทำแบบทดสอบครั้งสุดท้าย
ผู้สอนสามารถกำหนดว่าจำนวนแบบทดสอบในแต่ละหน้าผ่านเมนู New page ซึ่งจะช่วยให้สามารถดูข้อสอบได้ง่ายขึ้นในคำถามที่มีความยาวค่อนข้างมาก โดยสามารถตั้งค่าได้ทั้งแบบไม่กำหนดจำนวนข้อใน 1 หน้า หรือแสดงข้อคำถามทั้งหมดใน 1 หน้า , หน้าละ 1 คำถาม ไปจนถึงหน้าละ 50 คำถาม
สามารถกำหนดการเรียงลำดับของข้อคำถามได้(Sequential) หรือตั้งค่าแบบทำข้อไหนก่อนก็ได้อย่างอิสระ(Free)
เมื่อเปิดการใช้งานในส่วนนี้ระบบจะทำการสลับคำถามแบบสุ่มให้กับนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งจะสามารถใช้งานได้เฉพาะคำถามที่มีหลายส่วนเท่านั้น เช่น Multiple choice หรือ Matching (จับคู่)
แบ่งเป็นโหมดย่อยต่างๆ ดังนี้
Adaptive mode : ช่วยให้นักศึกษาสามารถตอบคำถามข้อเดิมได้หลายครั้ง หากตอบผิดจะโดนหักคะแนนตามที่ตั้งไว้ ก่อนที่จะข้ามไปยังคำถามถัดไป
Deferred feedback : นักศึกษาต้องตอบคำถาม และส่งคำตอบทั้งหมดก่อนที่จะมีการให้คะแนนหรือได้รับข้อเสนอแนะใด ๆ
Immediate feedback : คล้ายกับ Interactive mode การที่นักศึกษาสามารถส่งคำตอบของตนเองได้ทันทีในระหว่างการตอบคำถามและรับคะแนน อย่างไรก็ตามพวกเขาสามารถตอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตอบได้ในภายหลัง
Certainty-based marking (CBM) : นักศึกษาตอบคำถามและต้องระบุความมั่นใจในการตอบด้วย คะแนนที่ได้ในข้อนั้นๆจะได้รับการปรับจากความมั่นใจของนักศึกษา เพื่อสะท้อนต่อความซื่อสัตย์ในระดับความรู้ของนักศึกษาเองเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีที่สุด
Interactive with multiple tries mode : หลังจากตอบหนึ่งคำถาม นักศึกษาสามารถคลิกปุ่ม ‘ลองทำอีกครั้ง’ และอ่านคำแนะนำเพื่อตอบคำถามใหม่อีกครั้งได้ เมื่อนักศึกษาตอบคำถามถูกต้องแล้วจะไม่สามารถกลับมาตอบคำถามได้อีก สามารถขึ้นข้อเสนอแนะที่แตกต่างกัน ตามจำนวนครั้งที่นักศึกษาได้รับสิทธิ์ในการตอบได้ถ้านักศึกษาตอบคำถามผิด(หรือถูกต้องบางส่วน)หลายครั้ง
หากตั้งค่าแบบเข้าทำได้หลายครั้ง (multiple attempts) และ การทำแบบทดสอบใหม่ยังคงมีผลของการทำรอบเดิม เช่น เมื่อนักศึกษาทำข้อสอบในครั้งที่ 1 ไม่เสร็จ สมมุติว่าข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ แต่ทำถึงข้อ57 แล้วอาจารย์ต้องการให้เข้าทำครั้งที่ 2 โดยทำต่อจากส่วนเดิมที่เคยทำไม่เสร็จ สามารถตั้งค่าเปิดการใช้งานในส่วนนี้ไว้ เมื่อนักศึกษาเข้าทำข้อสอบต่อจะสามารถทำต่อจากจุดเดิมที่เคยทำได้เลย (ข้อที่57) ไม่ต้องทำใหม่
ในส่วนนี้จะควบคุมการแสดงผลข้อมูลที่นักศึกษาจะได้รับหลังจากที่นักศึกษาได้ส่งคำตอบในการทำแบบทดสอบแล้ว ได้แก่ ส่วนของเฉลยคำตอบ , คำแนะนำที่ถูกตั้งค่าไว้ในแต่ละตัวเลือก หรือการให้ความเห็นแบบภาพรวม โดยสามารถตั้งค่าการแสดงผลได้ 4 หัวข้อตามเวลาในการทำข้อสอบ ดังนี้
During the attempt : การแสดงผลระหว่างทำแบบทดสอบ
Immediately after the attempt : การแสดงผลทันทีหลังจากทำข้อสอบเสร็จ โดยจะแสดงผลหลังจากกดปุ่ม "submit all and finish" ใน 2 นาทีแรก
After the quiz is closed : การแสดงผลหลังจากปิดให้ทำแบบทดสอบแล้ว
Later, while the quiz is still open : การแสดงผลหลังจากวันปิดให้เข้าทำหรือส่งแบบทดสอบ หากไม่ได้ตั้งค่าวันที่ทำการปิดแบบทดสอบ นักศึกษาจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้เลย
โดยสามารถเปิดหรือปิดข้อมูลส่วนต่างๆ ตามรายละเอียดดังนี้
The attempt : แสดงคำตอบที่ทำ
Whether correct : แสดงผล ถูก/ผิด
Marks : แสดงคะแนน
Specific feedback : แสดงความเห็นแบบเฉพาะเจาะจง(ต้องเปิด 1.The attempt ก่อน)
General feedback : แสดงความเห็นแบบทั่วไป(ต้องเปิด 1.The attempt ก่อน)
Right answer : แสดงเฉลย
Overall feedback : แสดงความคิดเห็นแบบภาพรวม
feedback ทุกรูปแบบอาจารย์เป็นผู้กำหนด หากไม่ได้กำหนดก็จะไม่แสดงผล
8. หากปิด Review Options ทุกส่วน เมื่อนักศึกษาทำข้อสอบเสร็จแล้ว จะปรากฏข้อมูลการเข้าทำ และเวลาที่ทำข้อสอบเสร็จเท่านั้น จะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตอบแต่ละข้อขึ้นโชว์ดังภาพ
สามารถเลือกได้ว่าจะให้โชว์รูปของผู้ทำแบบทดสอบหรือไม่ หรือการกำหนดจุดทศนิยมของคะแนนแบบทดสอบ
ตั้งค่า Quiz ให้เข้าถึงผ่านทาง SEB เท่านั้น
ไปยัง Quiz ที่ท่านต้องการ
กดปุ่มฟันเฟือง เลือกเมนู Edit Settings
ไปยังเมนู Safe Exam Browser
ในช่อง “Require the use of Safe Exam Browser” ให้ท่านเลือก Yes โดยมีรูปแบบการเปิด SEB 4 รูปแบบคือ
Yes - Configure manually
Yes - Use an existing template *แนะนำ*
Yes - Upload my own config
Yes - Use SEB client config
การตั้งค่าค่อนข้างเยอะ จำเป็นต้องใช้ SEB version 3.0 ขึ้นไป และรองรับระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ขึ้นไปเท่านั้น
เครื่องที่มีจอแสดงผลมากกว่า 1 จอ จะเข้าสอบไม่ได้ เช่น มี 2 จอ, ต่อ Projector, Note book ที่มีจอแยก
ในหน้าต่างจากขั้นตอนที่ 2.1 จะมีตัวเลือกสำหรับ SEB อยู่จำนวนหนึ่ง โดยตัวเลือกที่จำเป็นต้องตั้งค่ามีดังต่อไปนี้
หากมีการใส่ URL ไว้ในช่องนี้ ระบบจะแสดง Exit Safe Exam Browser ให้ผู้สอบกด หลังจากส่งข้อสอบเสร็จสิ้น หากไม่ตั้งค่า URL ผู้สอบจะต้องใช้ Exit password เท่านั้น (ดูข้อต่อไป)URL นี้ตั้งค่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่มีผลต่อการทำงาน เช่น https://cmu.ac.th
รหัสผ่านเพื่อออกจากโปรแกรม SEB โดยปกติอาจารย์จะไม่เปิดเผยรหัสนี้ให้กับผู้สอบ ยกเว้นในกรณีจำเป็นจริงๆ เช่น นักศึกษาบางคนออกโปรแกรมด้วย Exit Button ไม่ได้ หาไม่เจอ เป็นต้น อาจารย์ก็สามารถแจ้ง Quiz password นี้ให้เพื่อแก้ไขปัญหาได้
สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม แต่โดยรวมแล้วละไว้เป็นค่าเริ่มต้นได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า ผู้สอบจะออกจากโปรแกรม SEB ได้หลังจากที่ส่งข้อสอบแล้ว ซึ่งการที่ Moodle จะแสดงปุ่ม “Exit Safe Exam Browser” ขึ้นมา จะต้องตั้งค่า Review Options ตามนี้
จาก Quiz ให้เลือก Edit / Review Options
ในตัวเลือกที่ปรากฏ (ดังภาพ) ให้เปิดใช้ “Overall Feedback” ในส่วนของ “immediately after the attempt” และ “Later, while the quiz is still open”
กรณีนี้จะเป็นการใช้งานแบบสำเร็จที่ใช้งานง่ายที่สุด และสามารถใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์หอพัก หรือ ITSC Corner ได้
Safe Exam Browser config template : มีให้เลือกทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกันคือ
SEB Default *แนะนำ*
SEB for 2.4.1 [win7]
SEB High Security (No restart, switch user)
SEB No Virtual machine, VDI
Show Safe Exam Browser download button : เปิด/ปิด ปุ่มดาวน์โหลดในหน้า Quiz
Enable quitting of SEB : อนุญาตให้สามารถออกจากโปรแกรมได้ หากอนุญาตในส่วนนี้จึงจะสามารถกำหนด Quiz password ได้
Quit Password : กำหนดรหัสผ่านในการออกจากระบบ SEB
กรณีนี้เป็นการใช้งานด้วยไฟล์ Config ที่ได้ทำการตั้งค่าในโปรแกรม SEB Figuration tool เอง
Upload Safe Exam Browser config file : อัพโหลด Config file (.seb) ของท่านโดยการนำไฟล์มาวางไว้ที่กล่องเส้นประสีเทา และไฟล์ที่ท่านสร้างจะต้องมีขนาดไม่เกิน 80 MB
Show Safe Exam Browser download button : เปิด/ปิด ปุ่มดาวน์โหลดในหน้า Quiz
Allowed browser exam keys : กรอก Browser Exam Key ที่ได้จากเมนู Exam ในโปรแกรม SEB Configuration Tool
กรณีคือการ Config เพื่อให้อุปกรณ์นี้ใช้งาน SEB ได้
Show Safe Exam Browser download button : เปิด/ปิด ปุ่มดาวน์โหลดในหน้า Quiz
Allowed browser exam keys : กรอก Browser Exam Key ที่ได้จากเมนู Exam ในโปรแกรม SEB Configuration Tool
กำหนดให้นักศึกษาต้องใส่รหัสผ่านก่อนถึงเข้าทำแบบทดสอบได้ เป็นประโยชน์มากหากผู้สอนต้องการให้นักศึกษาบางกลุ่มเข้าร่วมทำแบบทดสอบ และเป็นทริกอีกอย่างหนึ่ง หากกระบวนวิชามีนักศึกษาจำนวนมากที่ต้องเข้ามาตอบคำถามพร้อมกัน การตั้งรหัสผ่านยาวๆ จะช่วยลดภาระการโหลดของเซิร์ฟเวอร์ให้กระจายไปตามเวลา
ผู้สอนสามารถจำกัดการเข้าถึงแบบทดสอบ เฉพาะกับ เครือข่ายย่อยบน LAN หรืออินเทอร์เน็ตโดยการระบุรายการหมายเลขที่อยู่ IP เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการทำแบบทดสอบที่จัดทำขึ้น โดยผู้สอนต้องการให้แน่ใจว่ามีเฉพาะผู้ที่อยู่ในห้องเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแบบทดสอบได้ ซึ่งมี 3 รูปแบบ ดังนี้
ใช้ IP เต็ม (Full IP addresses) เช่น 192.168.10.1 ซึ่งจะตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Proxy เพียงเครื่องเดียว
ใช้ IP บางส่วน (Partial addresses) เช่น 192.168 ซึ่งจะใช้ได้กับเครื่องที่ขึ้นต้นด้วยตัวเลขดังกล่าวเท่านั้น
ใช้แบบ CIDR (CIDR notation) เช่น 231.54.211.0/20 ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุ subnet ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นได้
การหน่วงเวลาระหว่างการทำแบบทดสอบ (Enforced delay between attempts) – คุณสามารถตั้งเวลา (ตั้งแต่รายวินาทีถึงระดับสัปดาห์) ระหว่างการทำแบบทดสอบแต่ละครั้ง หรือจะตั้งค่าให้เริ่มหน่วงเวลาหากนักศึกษาทำแบบทดสอบถึงจำนวนที่ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้
ความปลอดภัยของบราวเซอร์ (Browser security) – เป็นตัวเลือกที่ใช้เพื่อพยายามจำกัด วิธีที่นักศึกษาอาจพยายาม ‘โกง’ ขณะทำแบบทดสอบ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่การจำกัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเท่านั้น (เช่น ความสามารถในการค้นหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องมือค้นหา)
เมื่อเปิดการใช้งานส่วนนี้ นักศึกษาที่เข้าใช้ระบบผ่าน Apps บน Smartphone จะสามารถดาวน์โหลดและเข้าทำข้อสอบแบบออฟไลน์ได้ แต่มีข้อจำกัดคือ Quiz นั้นจะต้องตั้งค่ามให้มีการเข้าทำแบบ Offline ได้ และไม่สามารถเปิดใช้งานได้หากมีการตั้งค่า Time limit
เปิดฟังก์ชันการใช้งานนี้เมื่อต้องการให้นักศึกษาเข้าทำ Quiz แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของนักศึกษาจะไม่สเถียร โดยจะบังคับให้มัการบันทึกข้อมูลคำตอบลงเครื่องของนักศึกษา และสามารถสลับไปมาระหว่างเพจได้ หลังจากนั้นเมื่อระบบกลับมาเป็นปกติแล้วจึงจะส่งข้อมูลคพตอบเข้าไปในระบบโดยอัตโนมัติ
สามารถเปิดหรือปิดการเข้าสู่ระบบแบบสุ่มดีเลย์ โดยการเปิดเมนู Sets a random access delay เพื่อช่วยลดจำนวนนักศึกษาที่กดเข้าใช้งานพร้อมๆกัน (ลดความเสี่ยงในการเกิดระบบล่ม)
สามารถตั้งค่า Not Require หรือ Must be acknowledged before stating an attempt
การตั้งค่าเพื่อไม่ให้เข้าสู่แบบทดสอบโดยใช้ ip address ที่ต่างกัน เมื่อนักศึกษาเข้าสู่ระบบโดยใช้อุปกรณ์ที่ 2 จะไม่สามารถเข้าได้ และ ส่งผลให้อุปกรณ์แรกก็จะไม่สามารถเข้าได้เช่นกัน
*ในกรณีที่นักศึกษาเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากแหล่งใหม่อาจจะทำให้ ip address มีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบให้แน่ใจในส่วนนี้ด้วย*
สามารถตั้งค่า Not Require หรือ Must be acknowledged before stating an attempt
เพื่อให้นักศึกษาเปิดกล้องก่อนส่งข้อสอบ และเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนก่อนส่งข้อสอบ ว่านักศึกษาเป็นผู้ส่งข้อสอบจริง
ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจะแสดงหลังจากนักศึกษาได้ทำแบบทดสอบเสร็จ โดยข้อความที่แสดงขึ้นอยู่กับคะแนนที่นักศึกษาได้รับ
สามารถกำหนดให้แสดงหรือซ่อนแบบทดสอบได้
Show on course page หรือแสดงบนหน้าคอร์ส
Hide from students หรือซ่อนจากนักศึกษา
Make available but not show on course page หรือตั้งค่าให้สามารถใช้งานได้ แต่ซ่อนจากหน้าคอร์ส
ในกรณีมีการสร้าง Group (Course Setting) สามารถใช้ group mode ได้
No Group หรือไม่มีการแบ่งกลุ่ม
Separate Group หรือแบ่งกลุ่ม
Visible Group หรือกลุ่มที่สามารถมองเห็นได้ โดยจะสามารถตั้งค่า Grouping เพิ่มเติมได้
ท่านสามารถเพิ่มเงื่อนไขในการเข้าถึงข้อสอบได้ โดยนักศึกจะต้องผ่นเงื่อนไขที่ท่านตั้งไว้ก่อนจึงจะสามารถเข้าทำ Activity ที่มีการตั้งค่า Restrict access นี้ได้ โดยคลิกที่ปุ่ม “Add restriction”
เมื่อเพิ่ม restriction แล้ว จะปรากฏหน้าต่างตามภาพด้านล่าง โดยจะมีเงื่อนไขให้ท่านสามารถตั้งค่าให้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด(Must) หรือต้องไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด(Must not) ดังภาพ
ท่านสามารถกำหนดได้ว่า จะต้องผ่าน Acitivity ใดมาก่อนจึงจะเข้าทำ Activity ที่ท่านกำลังตั้งค่านี้ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
นักศึกษาจำเป็นต้องดำเนินการเกี่ยวกับ Activity ที่กำหนดให้ตรงตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ จึงจะเข้าสู่ Quiz นี้ได้
อีกนัยหนึ่งคือ จะเข้าทำ Activity ที่ท่านกำลังตั้งค่าอยู่นี้ได้ นักศึกษาจะต้องทำ Activity ที่ท่านต้องการให้สำเร็จก่อน
แบ่งเป็น
Activity completion [Activity ที่ท่านต้องการ] must be marked complete
Activity completion [Activity ที่ท่านต้องการ] must not be marked complete
Activity completion [Activity ที่ท่านต้องการ] must be complete with pass grade
Activity completion [Activity ที่ท่านต้องการ] must be complete with with fail grade
ตัวอย่างเช่น ตั้งค่าตัว Quiz สอบปลายภาค โดยเพิ่มเงื่อนไขว่าจะต้องทำ Activity : Quetionaire ยอมรับเงื่อนไขการสอบปลายภาคให้สำเร็จก่อนจึงจะเข้าทำ Quiz สอบปลายภาค ที่ท่านกำลังตั้งค่านี้ได้
เมื่อตั้งค่าเรียบร้อย เงื่อนไขทั้งหมดที่ได้จะเป็น ต้องทำ Activity : Quetionaire ยอมรับเงื่อนไขการสอบปลายภาคก่อนจึงจะเข้าทำ Quiz สอบปลายภาคได้
ตัวอย่างที่ 2 ตั้งค่าตัว Quiz Part 3 โดยเพิ่มเงื่อนไขว่าจะต้องทำ Activity : Quiz Part 2 ให้สำเร็จก่อนจึงจะเข้าทำ Quiz Part 3 ที่กำลังตั้งค่านี้ได้ หลังจากนั้น ตั้งค่า Quiz Part 2 โดยเพิ่มเงื่อนไขว่าจะต้องทำ Activity : Quiz Part 1 ให้สำเร็จก่อนจึงจะเข้าทำ Quiz Part 2 ที่กำลังตั้งค่านี้ได้
เมื่อตั้งค่าเรียบร้อย เงื่อนไขทั้งหมดที่ได้จะเป็น ต้องเข้าทำ Quiz Part 1 ก่อนจึงจะเข้าทำ Quiz Part 2 ได้ และ ต้องเข้าทำ Quiz Part 2 จึงจะเข้าทำ Quiz Part 3 ได้
ตั้งค่าไว้เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อสอบก่อนถึงวันเวลาที่กำหนด หรือกำหนดวันเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการเข้าทำข้อสอบ
แบ่งเป็น
1.Student Must match the following Access restrictions Date From .. สามารถเข้าได้หลังจากเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น กำหนดวันที่ 21 ตุลาคม 2021 เวลา 09.00น. นักศึกษาจะสามารถเข้าสู่ควิซนี้ได้เมื่อถึง วันที่ 21 ตุลาคม 2021 เวลา 09.00 น. โดยในวันที่ 6 กรกฏาคม 08.59 น. หรือเวลาก่อนหน้านี้จะไม่สามารถเข้ามาทำได้
เมื่อตั้งค่าแล้วระบบจะแสดงเงื่อนไขโดยมีคำว่า Restricted ล่างไอคอน Quiz สีเหลือง พร้อมแจ้งเงื่อนไข Quiz ว่า Available from 21 October 2021, 9:00 AM
2.Student Must match the following Access restrictions Date Until .. สามารถเข้าได้จนถึงเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น กำหนด21 ตุลาคม 2021 เวลา 09.00น. นักศึกษาจะเข้าทำข้อสอบได้จนถึง 21 ตุลาคม 2021เวลา 09.00 น. โดยในวันที่ 6 กรกฏาคม 09.01 น. เป็นต้นไปจะไม่สามารถเข้ามาทำได้อีก
เมื่อตั้งค่าแล้วระบบจะแสดงเงื่อนไขโดยมีคำว่า Restricted ล่างไอคอน Quiz สีเหลือง พร้อมแจ้งเงื่อนไข Quiz ว่า Available until 21 October 2021, 9:00 AM
3.Student Must Not match the following Access restrictions Date From.. นักศึกษาต้องไม่ตรงกับเงื่อนไข จากวันเวลาที่กำหนด จึงจะเข้าทำข้อสอบได้
เมื่อตั้งค่าแล้วระบบจะแสดงเงื่อนไขโดยมีคำว่า Restricted ล่างไอคอน Quiz สีเหลือง พร้อมแจ้งเงื่อนไข Quiz ว่า Available until 21 October 2021, 9:00 AM
4.Student Must Not match the following Access restrictions Date Until .. นักศึกษาต้องไม่ตรงกับเงื่อนไข จนถึงวันเวลาที่กำหนด จึงจะเข้าทำข้อสอบได้
เมื่อตั้งค่าแล้วระบบจะแสดงเงื่อนไขโดยมีคำว่า Restricted ล่างไอคอน Quiz สีเหลือง พร้อมแจ้งเงื่อนไข Quiz ว่า Available from 21 October 2021, 9:00 AM
นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับคะแนนจากกิจกรรมเก็บคะแนน(การบ้านหรือควิซ)ที่กำหนดก่อนจึงจะเข้าทำข้อสอบนี้ได้
นักศึกษาจะต้องกรอกรหัสผ่านให้ถูกต้องจึงจะเข้าทำข้อสอบนี้ได้
อ้างอิงจากข้อมูลต่างๆของนักศึกษาตามที่เลือกเท่านั้นที่จะเข้าทำข้อสอบได้
อนุญาตให้บทบาทที่กำหนดเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อสอบได้
Add a set of nested restrictions to apply complex logic.
ตั้งค่าการ Tacking หรือติดตามการทำกิจกรรมของนักศึกษาในคอร์สได้ โดยการตั้งค่า Activity Completion จะสามารถเลือกเงื่อนไขใน Completion Tracking ได้ 3 แบบ ดังนี้
คือการตั้งค่าแบบไม่ติดตาม activity ของนักศึกษาว่าทำเสร็จแล้วหรือไม่ โดยเมื่อตั้งค่าส่วนนี้จะทำให้หน้าแสดง activity ไม่มีสัญลักษณ์วงกลมปรากฏอยู่
คือการตั้งค่าแบบที่ให้นักศึกษาจะเป็นคนกดเช็คถูก(สีเขียว) เพื่อบอกว่า activity ส่วนนี้เสร็จสิ้นแล้วแม้ว่านักศึกษาจะเข้าไปทำข้างในแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยเมื่อตั้งค่าในส่วนนี้ในหน้าแสดง activity จะไม่มีสัญลักษณ์วงกลมสีเขียวปรากฏอยู่
คือการตั้งค่าแบบที่ระบบจะเช็คถูก(สีน้ำเงิน)ให้เอง เมื่อตรงตามเงื่อนไขทั้งหมดที่ตั้งไว้ หากเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งยังไม่สมบูรณ์ระบบก็จะไม่เช็คถูกให้ โดยเมื่อตั้งค่าในส่วนนี้ในหน้าแสดง activity จะไม่มีสัญลักษณ์วงกลมแบบเส้นประสีน้ำเงินปรากฏอยู่ มีเงื่อนไขที่สามารถตั้งได้ทั้งหมด มีดังนี้
3.1 Require view หากเปิดไว้ นักศึกษาจำเป็นต้องเข้ามาดู Activity นี้ก่อน
3.2 Require grade หากเปิดไว้ นักศึกษาต้องได้รับเกรดจาก Activity นี้ก่อน คือ นักศึกษาต้องกดส่งแล้วได้คะแนน (ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกข้อ) ซึ่งจะมีเงื่อนไขย่อยอีกคือ
3.2.1 Require passing grade คือคะแนนของนักศึกษาจะต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนด
3.2.2 Or all available attempts completed คือนักศึกษาเข้าทำข้อสอบครบจำนวนครั้งที่กำหนดแล้ว